|
 |
ข้อมูลวิชาการ
ในอดีตป่าเป็นแหล่งผลิตปัจจัยความจำเป็นพื้นฐานแก่ชีวิตมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารและยารักษาโรค
เมื่อมีความต้องการในปัจจัยสี่
มนุษย์ก็จะเดินเข้าป่าเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการเหล่านั้น
ปัจจุบันเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการในปัจจัยสี่จึงมีมากขึ้น
จนเกินกำลังผลิตของป่า
ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่เคยมีกลับลดน้อยลง
แต่ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่ายังมีความจำเป็นและต้องการใช้ผลผลิตจากป่าเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
 |
จากแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เรื่องคนอยู่คู่กับป่า อธิบดีกรมป่าไม้
ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี
น้อมรับแนวพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
โดยดำเนินการสร้างธนาคารอาหารจากป่าเป็นตัวอย่าง
ธนาคารอาหารแห่งบ้านป้อก-บ้านปงไคร้ เป็นหนึ่งในจำนวนหลายๆ
ป่าที่กรมป่าไม้ได้พัฒนาขึ้น ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านปงไคร้
ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินการโดยหน่วยจัดการต้นน้ำโป่งไคร้ ศูนย์จัดการต้นน้ำที่ 4
ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวแบบในการดำเนินการของพื้นที่อื่นๆ
เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และเอื้อประโยชน์แก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องในหลักการที่ให้
คนอยู่คู่กับป่า หรือป่าพึ่งคน คน พึ่งป่าอย่างยั่งยืน
เมื่อป่ามีความอุดมสมบูรณ์สามารถผลิตปัจจัยความจำเป็นพื้นฐานแก่ชุมชนและชุมชน |
ได้รับผลประโยชน์จากพื้นที่ป่าเหล่านั้นแล้ว
ชุมชนจะเห็นความสำคัญของป่าไม้
และช่วยกันบำรุงรักษาป่าให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เอื้ออำนวยประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป |
- เพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าไม้
แหล่งต้นน้ำลำธารและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
- เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและพัฒนาพืชสมุนไพร
สำหรับใช้ในชุมชนและประโยชน์ในเชิงเภสัชกรรม
- เพื่อเป็นการพัฒนาระบบนิเวศน์ป่าไม้ให้เกิดความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ
- เพื่อเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติของชุมชน เช่น พืชผัก สัตว์ป่า
สัตว์น้ำและผลไม้
|
เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างชุมชนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของรัฐ
โดยชุมชนจะเป็นผู้ดำเนินการด้านแรงงาน การดูแลรักษา
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ตามความเหมาะสมและความต้องการของชุมชนเอง
ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาในเชิงวิชาการ
และความเหมาะสมของการจัดการ
เมื่อพื้นที่มีการพัฒนาจนมีความอุดมสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมแล้ว
จึงให้กับชุมชนบริหาร และจัดการกันเองในรูปแบบของกลุ่ม
หรือคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการระดับตำบล |
 |
สามารถดำเนินการได้ทั้งพื้นที่ที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชุมชน
ป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธาร
ตลอดจนพื้นที่สวนป่าของรัฐที่มีอายุมาและต้นไม้มีขนาดโตพอสมควรแล้ว
โดยป่าดังกล่าวจะอยู่ใกล้แหล่งชุมชน
และมีศักยภาพที่ชุมชนจะร่วมจัดการดูแลและเก็บหาผลผลิตได้
|
ทำการศึกษาสภาพระบบนิเวศน์ป่าไม้ในพื้นที่สภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ
เช่น สภาพดิน ซึ่งได้แก่ชนิดดิน ความลึกของหน้าดิน
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนระดับความสูงของพื้นที่
Back to top
|
|
|