1.1
พื้นที่สูงเขตป่าอนุรักษ์และสภาพปัญหา
พื้นที่สูงเขตป่าอนุรักษ์ หมายถึง
ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เช่น อุทยานแห่งชาติ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่า
และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่
1 และชั้นที่ 2)
เขตป่าอนุรักษ์ได้กำหนดขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดินน้ำ
พืชพรรณและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่าหายาก เพื่อการป้องกัน
ภัยธรรมชาติ เช่น
อุทกภัยและการพังทลายของดินรวมถึงเพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษาวิจัย
นันทนาการของประชาชน และความมั่นคงของชาติ
ปัจจุบันบนพื้นที่สูงในเขตป่าอนุรักษ์ได้มีชุมชนเข้าอยู่อาศัยตั้งหลักแหล่งและทำกิน
ทำให้มีการบุกรุก ขยายพื้นที่ทำลายป่าไม้มากขึ้น
สำหรับพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของประเทศมีเนื้อที่
84.91 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2529
พบว่าในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 พื้นที่ถูกทำลายไป 4.77
ล้านไร่ และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 2 ถูกทำลายไป 26.73
ล้านไร่ และพื้นที่ป่าของประเทศที่เหลืออยู่ในปี 2541
ทั้งสิ้น 81.08 ล้านไร่
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ
ขณะเดียวกันประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
จากข้อมูลการสำรวจชุมชนพื้นที่สูงปี 2538
พบว่ามีประชากรอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงดังกล่าว จำนวน
991,122 คน (กองสงเคราะห์ชาวเขา,2540
,ทำเนียบชุมชนบนพื้นที่สูง)
1.2
แนวทางการจัดการพื้นที่สูงเขตป่าอนุรักษ์ของรัฐบาล
1.2.1 แนวทางการจัดการชุมชนบนพื้นที่สูง
ตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชนสิ่งแวดล้อมและควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง
พ.ศ. 2535-2539 ฉบับที่ 1 มติ ครม. เมื่อวันที่ 13
พฤษภาคม 2532
เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมพัฒนาที่ดินจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมในการใช้ที่ดินโดยการสำรวจพื้นที่ใช้มาตราส่วน
1:150,000 ได้จำแนกประเภทชุมชนบนพื้นที่สูง 4 ประเภท
ดังนี้
กลุ่มที่ 1
เป็นชุมชนที่จัดตั้งบ้านเรือนอย่างถาวร มีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นชุมชนขนาดใหญ่ตั้งแต่ 50 หลังคาเรือน
ในรัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร มีการตั้งถิ่นฐานถาวร
ไม่มีการโยกย้ายมาไม่น้อยกว่า 20 ปี
- ที่ดินเหมาะแก่การทำการเกษตร
- อยู่นอกเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1A
หรือเขตอุทยานแห่งชาติ
- มีหน่วยงานของรัฐเข้าไปดำเนินการอย่างถาวร
หรือต่อเนื่อง
-
มีเส้นทางคมนาคมโดยทางรถยนต์เข้าถึงที่อยู่อาศัย
กลุ่มที่ 2
เป็นชุมชนที่จัดตั้งในเขตที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
จากทางราชการ แต่มีศักยภาพที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านถาวร
- เป็นชุมชนที่จัดตั้ง
ไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ
- เป็นชุมชนที่มีขนาดประมาณ 25-50 หลังคาเรือน
รัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร
- ดินมีความเหมาะสมทางการเกษตร
โดยพิจารณาตามหลักวิชาการ
และหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
-
ลักษณะของชุมชนต้องสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น
กลุ่มที่ 3 เป็นชุมชนที่ไม่มีศักยภาพ
และยังไม่มีศักยภาพที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านถาวร
(ขาดคุณสมบัติข้อหนึ่ง ข้อใดของกลุ่ม 2)
กลุ่มที่ 4
เป็นชุมชนที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษตามนโยบายของทางราชการ
โดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
โดยการทำงานเน้นชุมชนบนพื้นที่สูง กลุ่ม 2 ดังนี้
กลุ่ม 2.1 อยู่ในเขตป่าสงวน
แต่พื้นที่ทำกินทำอยู่ได้ถาวร
กลุ่ม 2.2 อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์
แต่พื้นที่ทำกินอยู่ได้ แต่อยู่ในเขตอนุรักษ์
สำหรับแผนแม่บท เพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม
และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง (พ.ศ.2540-2544)
ตามกรอบการพัฒนาชุมชน มุ่งเน้นกลุ่มบ้านที่ 2
1.2.2
แนวทางการจัดการและแก้ปัญหาพื้นที่ป่าอนุรักษ์
แนวทางการจัดการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ของชุมชนบนพื้นที่สูงเขตป่าอนุรักษ์ของรัฐบาล
ดังนี้
มติ ครม. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2540
ได้เห็นชอบแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและพื้นที่ป่าไม้ระดับพื้นที่
เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้อย่างเป็นระบบ
โดยเน้นด้านการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยสงวนรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่เหลืออยู่
และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมสภาพ
ทั้งนี้อยู่บนหลักการลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่
มติ ครม. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ได้กำหนดมาตรการและการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
-
ให้กรมป่าไม้สำรวจพื้นที่ที่มีการครอบครองให้ชัดเจนและขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองและนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนายั่งยืน
-
ให้กรมป่าไม้ดำเนินการตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่
(ตามมติ ครม. วันที่ 16 กันยายน 2540)
การจัดระเบียบที่อยู่อาศัย/ทำกิน
เป็นการจัดการเพื่อคุ้มครองพื้นที่
ป่าอนุรักษ์และเพื่อควบคุมผลกระทบต่อพื้นที่ดังกล่าวให้เสียหายน้อยที่สุด
รวมทั้งให้มีผลเป็นการช่วยเหลือราษฎร มีลักษณะการ
ดำเนินการโดยสังเขป ดังนี้
6.1 ดำเนินการในบริเวณที่เดิม จัดรูปแปลงที่ดินใหม่
ลดขนาดการถือครองใช้มาตรการ
ควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อลดผลกระทบ แล้วแต่กรณี
6.2 จัดในพื้นที่แห่งใหม่ ในขนาดที่เหมาะสม
และใช้มาตรการควบคุมการใช้ที่ดินเพื่อลด ผลกระทบ
โดยพื้นที่ที่อยู่ในข่ายจะต้องพิจารณาจัดระเบียบที่อยู่อาศัย/ทำกิน
คือ พื้นที่ที่ตรวจพิสูจน์แล้วว่า อยู่ก่อน แต่ล่อแหลม
และพื้นที่ที่อยู่ภายหลังซึ่งต้องการเคลื่อนย้าย
(ดูแผนผังตามเอกสารหมายเลข 6)
ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถจัดการอพยพบุคคลที่มีปัญหาตามแผนและมาตราการดังกล่าวได้
เนื่องจากไม่สามารถจัดที่รองรับได้
1.3 หน้าที่ของส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ
ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
กรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรม
ป่าไม้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร
ซึ่งมีแผนงานในการดำเนินงานที่สำคัญ คือ
แผนงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
แผนงานด้านการจัดการชุมชน และแผนงานด้านการ ประสานงาน
การจัดการชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับปัจจัยอื่นๆ
เช่น ป่าไม้ การจัดการจึงมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้การดำรงค์อยู่ของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว
มีผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
การช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนตามความเหมาะสม
และการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้าใจ
มีจิตสำนึกในทรัพยากรธรรมชาติและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าว
กิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจัดการชุมชนของหน่วยจัดการต้นน้ำ
ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ คือ การจัดระเบียบชุมชน
1.4 การจัดระเบียบชุมชน
1.4.1 ความหมายการจัดระเบียบชุมชน
การจัดระเบียบชุมชน คือ
กระบวนการพัฒนาและการจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เป็น
องค์ประกอบของชุมชนทั้งหมด
เพื่อการดำรงอยู่และการพัฒนาชุมชนไปสู่เป้าหมายให้เกิดความยั่งยืน
ความมั่นคงอย่างเป็นระบบ
ในที่นี้การจัดระเบียบชุมชนจะเน้นไปที่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อให้ ชุมชนมีการอนุรักษ์
การใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเกิดความถูกต้องยังความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ระบบนิเวศ
ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของชุมชน 4 ประการ
ดังนี้คือ
(1) ปัจจัยทางด้านบุคคล (ปัจเจกบุคคล)
หรือหมายถึงสมาชิกแต่ละคนในชุมชน
สิ่งที่จะต้องจัดการหรือพัฒนาให้เกิดขึ้น คือ
1.1
ความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์
การใช้และการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ
1.2
ความรู้ความสามารถในการจัดการการอนุรักษ์การใช้และพฤติกรรมการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกต้อง
บุคคลในชุมชนที่มีจิตสำนึกต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
และเข้าใจข้อจำกัดของทรัพยากรในพื้นที่ทำกิจกรรมในการดำรงชีวิต
เช่นทำการเกษตรอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องพอเหมาะพอดี
คำนึงถึงความมั่นคงของชุมชนและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ที่ยั่งยืน
จึงเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานจัดระเบียบชุมชนเป็นอันดับแรก
(2) ปัจจัยทางสังคม หมายถึง
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อการทำหน้าที่
ในที่นี้มุ่งเน้นไปที่องค์กรชุมชนที่ทำหน้าที่ในการเป็นแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่
2.1 กลุ่มอนุรักษ์ และองค์กรเครือข่ายชุมชน
ซึ่งเป็นองค์กรของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นไม่เป็น ทางการ
เพื่อทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน
และระดับลุ่มน้ำ
2.2 กรรมการหมู่บ้าน และองค์กรบริหารส่วนตำบล
ซึ่งเป็นองค์กรตามกฎหมาย
ที่มีหน้าที่จัดการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
การจัดระเบียบชุมชนทางด้านสังคมจึงเน้นไปที่การสร้างและพัฒนาองค์กรของชุมชนที่ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นไม่เป็นทางการ
ทั้งกลุ่มอนุรักษ์และองค์กรเครือข่ายชุมชน
สามารถเพิ่มศักยภาพและบทบาทขององค์กรที่เป็นทางการ
(3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ หมายถึง
การบริโภคหรือการกินการอยู่ การผลิต
หมายถึงการจัดการทำมาหากิน
การจัดระเบียบชุมชนในด้านเศรษฐกิจ หมายถึง
การจัดระเบียบในเรื่องของการทำมาหากินให้สอดคล้องกับการบริโภคหรือการกินอยู่ของชุมชนตามสภาพแวดล้อมของชุมชนเขตป่าอนุรักษ์พื้นที่สูง
เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้และดำรงชีพตามศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ ดิน และน้ำ การส่งเสริม
การผลิตในด้านการเกษตรจึงควรจะส่งเสริมในรูปแบบเกษตรเชิงอนุรักษ์
(4) ปัจจัยทางด้านนิเวศ ในที่นี้มุ่งเน้นถึง
ทรัพยากรในระบบนิเวศ ได้แก่ ดิน น้ำ และ ป่าไม้
ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของชุมชน
การจัดระเบียบชุมชนทางด้านนิเวศ
คือการจัดระบบของทรัพยากร ดิน น้ำและป่าไม้เพื่อ
รองรับการดำรงอยู่ของชุมชน เช่น
การผลิตด้านการเกษตรของชุมชน
ต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรในระบบนิเวศเป็นหลัก
โดยการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ให้สอดคล้องกับศักยภาพของธรรมชาติ
เป็นวิธีการจัดระเบียบของทรัพยากรที่ดิน น้ำ และป่าไม้
เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนที่มั่นคง
บนพื้นฐานของความมั่นคงและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
1.4.2 ขั้นตอนและวิธีการจัดระเบียบชุมชน
การจัดระเบียบชุมชน คือ
กระบวนการพัฒนาและการจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เป็น
องค์ประกอบของชุมชนทั้งหมด
เพื่อการดำรงอยู่และการพัฒนาชุมชนไปสู่เป้าหมายให้เกิดความยั่งยืน
ความมั่นคงอย่างเป็นระบบ
ในที่นี้การจัดระเบียบชุมชนจะเน้นไปที่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อให้ ชุมชนมีการอนุรักษ์
การใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเกิดความถูกต้องยังความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ระบบนิเวศ
ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของชุมชน 4 ประการ
ดังนี้คือ
(1) ปัจจัยทางด้านบุคคล (ปัจเจกบุคคล)
หรือหมายถึงสมาชิกแต่ละคนในชุมชน
สิ่งที่จะต้องจัดการหรือพัฒนาให้เกิดขึ้น คือ
(1.1)
ความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์
การใช้และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
(1.2)
ความรู้ความสามารถในการจัดการการอนุรักษ์การใช้และพฤติกรรมการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกต้อง
บุคคลในชุมชนที่มีจิตสำนึกต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
และเข้าใจข้อจำกัดของทรัพยากรในพื้นที่ทำกิจกรรมในการดำรงชีวิต
เช่นทำการเกษตรอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องพอเหมาะพอดี
คำนึงถึงความมั่นคงของชุมชนและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ที่ยั่งยืน
จึงเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานจัดระเบียบชุมชนเป็นอันดับแรก
(2) ปัจจัยทางสังคม หมายถึง
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อการทำหน้าที่
ในที่นี้มุ่งเน้นไปที่องค์กรชุมชนที่ทำหน้าที่ในการเป็นแกนนำชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่
2.1 กลุ่มอนุรักษ์ และองค์กรเครือข่ายชุมชน
ซึ่งเป็นองค์กรของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นไม่เป็น ทางการ
เพื่อทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน
และระดับลุ่มน้ำ
2.2 กรรมการหมู่บ้าน และองค์กรบริหารส่วนตำบล
ซึ่งเป็นองค์กรตามกฎหมาย
ที่มีหน้าที่จัดการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
การจัดระเบียบชุมชนทางด้านสังคมจึงเน้นไปที่การสร้างและพัฒนาองค์กรของชุมชนที่ทำหน้าที่ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม องค์กรที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นไม่เป็นทางการ
ทั้งกลุ่มอนุรักษ์และองค์กรเครือข่ายชุมชน
สามารถเพิ่มศักยภาพและบทบาทขององค์กรที่เป็นทางการ
(3) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ หมายถึง
การบริโภคหรือการกินการอยู่ การผลิต
หมายถึงการจัดการทำมาหากิน
การจัดระเบียบชุมชนในด้านเศรษฐกิจ หมายถึง
การจัดระเบียบในเรื่องของการทำมาหากินให้สอดคล้องกับการบริโภคหรือการกินอยู่ของชุมชนตามสภาพแวดล้อมของชุมชนเขตป่าอนุรักษ์พื้นที่สูง
เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้และดำรงชีพตามศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้ ดิน และน้ำ การส่งเสริม
การผลิตในด้านการเกษตรจึงควรจะส่งเสริมในรูปแบบเกษตรเชิงอนุรักษ์
(4) ปัจจัยทางด้านนิเวศ ในที่นี้มุ่งเน้นถึง
ทรัพยากรในระบบนิเวศ ได้แก่ ดิน น้ำ และ ป่าไม้
ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของชุมชน
การจัดระเบียบชุมชนทางด้านนิเวศ
คือการจัดระบบของทรัพยากร ดิน น้ำและป่าไม้เพื่อ
รองรับการดำรงอยู่ของชุมชน เช่น
การผลิตด้านการเกษตรของชุมชน
ต้องคำนึงถึงศักยภาพของทรัพยากรในระบบนิเวศเป็นหลัก
โดยการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ให้สอดคล้องกับศักยภาพของธรรมชาติ
เป็นวิธีการจัดระเบียบของทรัพยากรที่ดิน น้ำ และป่าไม้
เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนที่มั่นคง
บนพื้นฐานของความมั่นคงและอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
1.4.2 ขั้นตอนและวิธีการจัดระเบียบชุมชน
การจัดระเบียบชุมชนมีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญ 3
ประการ คือ
การสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยชุมชน
การจัดการพัฒนาหรือแก้ปัญหาโดยชุมชน
และองค์กรชุมชนที่เป็นแกนนำในการจัดการพัฒนาและแก้ปัญหา
(1)
องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของชุมชน
องค์ความรู้นี้หมายถึง
เป็นความรู้ที่เกิดจากผลิตผลของกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยการจัดการของชุมชน
เพื่อให้ชุมชนสามารถคิด ตัดสินใจ
และสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับชุมชนได้
กระบวนการเรียนรู้ที่จัดการโดยชุมชน
โดยการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องที่สำคัญในงานจัดการต้นน้ำของหน่วยต้นน้ำที่ผ่านมา
คือ เวทีชาวบ้าน
ซึ่งองค์ประกอบและการจัดการของเวทีชาวบ้านโดยสรุปมีดังนี้
การเตรียมการ
- การสร้างความตื่นตัวในปัญหาแก่ชุมชน
โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์
การสื่อสารกับผู้นำชุมชน การประชุมชี้แจง
-
การทำให้เขาเริ่มเกิดความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหา
โดยการพาไปศึกษาดูงานที่เขามีการแก้ปัญหาลักษณะเดียวกันแล้วประสบความสำเร็จในชุมชนอื่น
- การจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทั้งหมด
แล้วนำมาวิเคราะห์และสื่อสารให้ชุมชนเข้าใจ
สื่อที่สำคัญได้แก่ รูปจำลองภูมิประเทศ หรือโมเดล
-
การเตรียมบุคลากรหรือผู้นำจากชุมชนเพื่อเป็นแกนนำการเรียนรู้ในเวทีชาวบ้านให้ผู้นำเหล่านี้มีวิธีคิดที่ถูกต้องรวมทั้งการมุ่งเน้นที่ให้เกิดประโยชน์แก่
ชุมชนเป็นหลัก โดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น
การพาไปศึกษาดูงาน หรือฝึกอบรม
เพื่อให้ได้จำนวนผู้นำที่มากพอสมควรเพื่อที่จะนำชุมชนไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง
และไม่เกิดปัญหา
การจัดเวทีชาวบ้าน
ในการจัดเวทีชาวบ้านมีสาระหรือองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องจัดเตรียม
เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์ คือ
1. ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ต้องมีความครบถ้วน ถูกต้องและเพียงพอ
ในการสนับสนุนให้เวทีชาวบ้านหรือเวทีสาธารณะดำเนินไปได้โดยราบรื่น
สามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ คือสามารถกำหนดปัญหา
สาเหตุของปัญหา เป้าหมาย และแนวทาง
วิธีการบรรลุเป้าหมายได้ถูกต้อง
2. สื่อ
จัดเตรียมสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งสื่อบุคคล
สื่ออื่นๆที่สามารถทำให้ชุมชนเกิดมโนทัศน์
นำไปสู่การเข้าใจสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นและรวมถึงข้อมูลที่ประมวลแล้วลงในแผนภูมิจำลองภูมิประเทศ
(โมเดล) ที่แสดงความสัมพันธ์ของปัญหาได้ชัดเจน

การเตรียมสื่อแผนภูมิจำลองภูมิประเทศ (โมเดล)
ของเจ้าหน้าที่
3. ผู้นำ ที่ได้รับการพัฒนาหรือเตรียมแล้ว
รวมถึงเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยที่มีจำนวนพอสมควร
สามารถนำชุมชน นำขบวนการเรียนรู้
ให้ดำเนินไปได้โดยราบรื่น
ซึ่งผู้นำควรจะมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ
- มีใจเป็นกลางหรือเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจใด
ๆ ทั้งสิ้น
- มีความรู้ความสามารถ
- เป็นที่ยอมรับเชื่อถือของชุมชน
ผู้นำชุมชนกับการเป็นผู้นำการเรียนรู้ของชุมชน
4. ผู้ที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่าง ๆ
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในระดับหนึ่ง
5. เรื่องหรือปัญหา
ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมควรนำประเด็นของปัญหาให้ชุมชนทราบเพื่อที่จะได้เตรียมตัวในการเข้าร่วมเวทีชาวบ้านโดยวิธีการประชาสัมพันธ์หรือการประสานงานทำความเข้าใจในระดับหนึ่ง
6. วิธีการคิด ที่จะนำมาสู่การแก้ปัญหาในเวที
ซึ่งสามารถนำหลักอริยสัจ 4 มาเป็นหลักได้
- กำหนดปัญหาได้ชัดเจนถูกต้อง
-
กำหนดสาเหตุของปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมดชัดเจนและถูกต้อง
- กำหนดเป้าหมายหรือสภาพที่ไม่เป็นปัญหาได้
- กำหนดแนวทางและวิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายได้
(2) การจัดการพัฒนาและแก้ปัญหาโดยชุมชน
เมื่อชุมชนสามารถคิดและตัดสินใจ คือ
สามารถกำหนดปัญหาเป้าหมายรวมถึงกิจกรรม
แผนงานและโครงการในการแก้ไขปัญหาได้แล้ว
การจัดการเพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมให้ลุล่วงเพื่อ
แก้ไขปัญหานั้น จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่หน่วยงานต่างๆ
จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการกิจกรรมด้วยชุมชนเองได้
ซึ่งปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
รวมถึงการบริหาร การจัดการ ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่
2.1) การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นการจัดระเบียบทรัพยากรที่ดินของชุมชนเพื่อต้องการแยกพื้นที่ป่าไม้
และพื้นที่ดินทำกินออกจากกัน
รวมถึงการกำหนดพื้นที่ทำการเกษตรให้เหมาะสมตามศักยภาพของทรัพยากร
และสอดคล้องกับนโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.2) การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญที่สุดในการควบคุมระบบที่ทำให้ต้นน้ำลำธารทำหน้าที่ได้สมบูรณ์คือ
สามารถเก็บกักน้ำและปล่อยน้ำไปสู่พื้นที่ราบลุ่มเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆได้
และป่าไม้ยังเป็นแหล่งปัจจัย 4
ที่หล่อเลี้ยงชุมชนในพื้นที่อีกด้วย
การอนุรักษ์จึงเป็นหน้าที่ของชุมชนที่สำคัญ
การส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้ทำหน้าที่อนุรักษ์ป้องกันป่าต้นน้ำลำธาร
จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ
2.3) การพัฒนาป่าไม้
เนื่องจากพื้นที่ต้นน้ำลำธารมีพื้นที่ป่าส่วนหนึ่งถูกบุกรุก
แผ้วถาง เพื่อใช้เป็นที่ทำกิน
รวมถึงการใช้พื้นที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง
ก่อให้เกิดผลกระทบบางพื้นที่เสื่อมโทรมจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และบางพื้นที่ถูกทิ้งให้เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า
การพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ให้เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการพัฒนา
ดังกล่าว
(3) องค์กรชุมชน
กลุ่มองค์กร หมายถึง
องค์กรชุมชนที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน
มีสมาชิก มีการบริหารการจัดการมีแผนงานและกิจกรรม
รวมถึงกฎระเบียบที่เป็นเครื่องมือในการ ดำเนินการ
ที่จัดตั้งขึ้นจากสมาชิกในชุมชนที่มีความพร้อมในด้านความรู้ความเข้าใจเสียสละทำงานเพื่อ
ชุมชนและอาสาสมัครเข้ามาแก้ปัญหาในชุมชน
อาจจะเป็นกรรมการหมู่บ้านด้วยก็ได้
(แต่กลุ่มอนุรักษ์ไม่ใช่กรรมการหมู่บ้าน) เช่น กลุ่มสตรี
กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอนุรักษ์เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำลำธารในการดำเนินงานของหน่วยจัดการต้นน้ำ
องค์กรชุมชนเป็นแกนนำที่สำคัญในการ
ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหรือแก้ปัญหา
องค์กรที่ไม่เป็นทางการที่มีบทบาทในการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชน
ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์ และระดับลุ่มน้ำ ได้แก่
องค์กรเครือข่ายลุ่มน้ำ
3.1) กลุ่มอนุรักษ์
เป็นกลุ่มองค์กรของชุมชนที่ไม่เป็นทางการที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนนำในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
วิธีการและขั้นตอน การจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ที่สำคัญ
มีดังนี้
1. ชุมชนดำเนินการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์
การทำกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์
2.
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้นำองค์กร
โดยพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น การฝึกอบรม
การศึกษาดูงานและการประชุมเวทีชาวบ้าน
สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ศึกษาดูงานกิจกรรมของชุมชนอื่น
3.
ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารการจัดการและการทำกิจกรรมของกลุ่มโดยสนับสนุนทั้ง
ข้อมูล ความรู้ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ หรือคำปรึกษา
โดยวิธีการต่างๆ เช่น ประสานงาน
ขอสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้อง
4.
สนับสนุนให้กลุ่มดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายที่วางไว้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ
3.2) องค์กรเครือข่ายชุมชน
เป็นองค์กรของชุมชนที่ไม่เป็นทางการซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ระดับลุ่มน้ำย่อยหรือพื้นที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
ในการดำเนินงานของส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ
ทั้งนี้เนื่องจากการดูแลในหมู่บ้านของตนเองหมู่บ้านเดียวยังไม่เพียงพอเพราะยังมีปัญหาเกี่ยวโยงระหว่างหมู่บ้านหรือชุมชนอื่น
เช่น ปัญหาเรื่องที่ทำกิน ปัญหาไฟป่า
ปัญหาคุณภาพน้ำจากการใช้สารเคมี
ซึ่งเกี่ยวโยงกันระหว่างหมู่บ้านและมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
การแก้ปัญหาจึงต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในชุมชนต่างๆ
ทั่วทั้งลุ่มน้ำครอบคลุมทุกชุมชน ที่อยู่ใน
ลุ่มน้ำเดียวกัน
และสนับสนุนให้ชุมชนเหล่านี้สร้างองค์กรเครือข่ายขึ้นมาเพื่อร่วมกันดูแลทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันในลุ่มน้ำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนทั้งหมดและลดปัญหาที่เกิดขึ้น
Back to top |