:: ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้ถูกรวบรวม จากพนักงานลาดตระเวนที่ลาดตระเวนในพื้นที่ ซึ่ง ข้อมูลเหล่านนี้จะบงบอกถึงคุณค่า ด้านการอนุรักษ์ของพื้นที่ (Conservation assets) ฐานข้อมูลที่ได้รวบรวมมีดังนี้ ::

  • ฐานข้อมูลด้านการลาดตระเวน ได้แก่
    • อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในการลาดตระเวน
    • วันที่ และจำนวนวันการลาดตระเวน
    • เส้นทางการลาดตระเวน
  • ชนิดสัตว์ป่าชนิดสำคัญ (Wildlife Key Species Database)
    ข้อมูลพื้นฐานของชนิดสัตว์สำคัญในเขตฯ ภูเขียว ข้อมูลที่ทำการรวบรวม ได้จากลาดตระเวน ที่ได้ทำการบันทึก คือ การพบร่องรอยของสัตว์ป่า ทำให้ทราบกระจายของสัตว์ป่าชนิดสำคัญ การเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่าตาม ฤดูกาล ความถี่ในการพบเห็น ความชุกชนในแต่ละปี ซึ่งเป็น ประโยชน์ในการวางแผนการจัดการสัตว์ป่า แหล่งถิ่นอาศัย และปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรง ชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า และการวางแผนป้องกันจากปัจจัยคุกคาม
สัตว์ป่าชนิดสำคัญ ที่กำหนด มี 11 ชนิด
หมาไน วัวแดง เก้ง
ช้างป่า กระทิง ชะนี
นกเงือก เสือดาว กวาง
เลียงผา เสือโครง
  • ชนิดพืชสำคัญ (Important plant Database)
    ข้อมูลพืชสำคัญในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้แก่พืชอาหารสัตว์ป่า เช่น ไทร กระบก และชนิดไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ กฤษณา ยางแดง มะค่า อื่น ๆ
ชนิดพันธุ์พืชสำคัญ ที่ทำการเก็บ ข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่ได้จัดทำแผนที่
ไม้กฤษณา ยาง มะค่าโมง
ตะเคียนทอง กระโถนฤาษี ประดู่
พญาไม้ แดง ไทร
สนสามพันปี หญ้าถอดปล้อง ยางปาย

 

  • ถิ่นอาศัยหลักและแหล่งทรัพยากรวิกฤต(ที่เกี่ยวข้องกับชนิดพันธุ์สำคัญ)
    โดยจัดทำเป็นแผนที่แสดงที่ตั้งของแหล่งต่างๆ เช่น แหล่งโป่ง แหล่งน้ำ ถ้ำที่สำคัญ แหล่งพืชอาหารสัตว์ป่าในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ รูปแบบและความสัมพันธ์ และข้อมูลกายภาพของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เน้นเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญด้านถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า
แผนที่การกระจายของแหล่งปัจจัยสำคัญ
โป่ง
แหล่งน้ำ
ถ้ำ
 
แหล่งพืชอาหารสัตว
   


  • การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
    เป็นข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการลาดตระเวนของพนักงานลาดตระเวนในการพบร่องรอยการเข้า มาใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดใดบ้าง บริเวนใด เพื่อให้ทราบถึงความถี่ ความรุ่นแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์ป่าที่สำคัญ และต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ แหล่งและชนิดการเข้ามาใช้ประโยชน์ของมนุษย์ ได้แบ่งประเภทใหญ่ ออกเป็น 8 ประเภท คือ
    1. การบุกรุกพื้นที่ ซึ่งในพื้นที่เขตฯ ภูเขียว มีจำนวนไม่มากและได้ดำเนินการส่งคดีแจ้งการกระทำผิดแล้ว
    2. การล่าสัตว์ ได้แก่ การพบหลักฐานซากสัตว์ป่าทุกชนิดที่ถูกล่า
      • ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่
      • ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง หมูป่า ,กวางป่าใหญ่
      • ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
      • ปลอกกระสุนและเสียงปืน
    3. การเก็บหาของป่า ได้แก่ การพบร่องรอยการเก็บไม้หอม การเก็บหน่อไม้ ผักหวาน ร่องรอยการเผา หน่อไม้ การเก็บหาของป่าอื่น ๆ เช่น แมลง เห็ด ผัก
    4. การตัดไม้ ได้แก่การพบร่องรอยการเข้ามาทำไม้ แปรรูป ไม้เสาไม้ท่อนขนาดเล็ก ตัดหาไม้ไผ่ และร่องรอยการฟันไม้
    5. การหาปลา ได้แก่ ร่องรอยการย่างรมควันปลา
    6. การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว ซึ่งพบบริเวณเชิงเขา
    7. การเกิดไฟป่า ได้แก่การพบบริเวณที่เกิดไฟป่า ซึ่งส่วนมาเป็นทุ่งหญ้า
      • เกิดบริเวณด้านล่างตามลาดเขาชัน
      • เกิดบริเวณบนหลังแป หลังเขา
    8. การพบร่องของคนเข้ามาในพื้นที่ เช่น ร่องรอยเท้า ห่างล่าสัตว์ กับดักล่าสัตว์
      • เห็นตัวคน
      • ร่อยรอยการตั้งแคมป์พักแรม
      • รอยเท้า รอยฟันกิ่งไม้เป็นทางเดิน กับดัก ห้างล่าสัตว์