สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรปได้เข้าสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงินที่สมบูรณ์เมื่อ
1 มกราคม ค.ศ.1999
และจะมีเงินสกุลเดียวหมุนเวียนใช้ในระบบเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปเดือน 1 มกราคม
ค.ศ. 2002 นอกจากนี้
สหภาพยุโรป กำลัง แก้ไขปัญหาการว่างงาน และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
ประชากร
ประมาณ 370 ล้านคน พื้นที่ประมาณ 3,337,000 ตร.กม. ผลผลิตรวมประชาชาติ
(GNP) ประมาณ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ความเป็นมา
- 1952 จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป
(European Coal and Steel Community-ECSC) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่
ฝรั่งเศส เยอรมันนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และลักเซมเบิร์ก
- 1958 จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณู
(European Atomic Energy Community Euration) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
(European Economic Community / EEC)
- 1967 ทั้งสามองค์กรได้รวมตัวกันอยู่ภายใต้กรอบ
EEC
- 1968 EEC พัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร
(Custom Union) และก้าวเข้าสู่การเป็นตลาดร่วม (Common Market)
- 1973 สหราชอาณาจักร
เดนมาร์ก และไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิก EEC
- 1981 กรีซเข้าเป็นสมาชิก
สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิกในปี 1986
- 1987 ออก Single Act
เพื่อพัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียวใน 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่าประชาคมยุโรป
(European Community) หรือ EC
- 1992 ลงนามสนธิสัญญามาสทริชท์
(Treaty of Mastricht) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป (European Union)
หรือ EU
- 1995 ออสเตรีย ฟินแลนด์
และสวีเดน เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
- 1997 ลงนามสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม
(Treaty of Amsterdam)
- 2000 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญานีซ
(Treaty of Nice) และประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาดังกล่าว
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001
การรวมตัว
สนธิสัญญามาสทริชท์
เน้น "เสาหลัก" 3 ประการ (the three pillars of the European Union)
คือ
1. เสาหลักที่หนึ่ง การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ (Economic Integration)
- ยุโรปตลาดเดียว
(Single Market) ให้มีการเคลื่อนที่ปัจจัย 4 ประการ โดยเสรี (free
movement) คือ (1) บุคคล (2) สินค้า (3) การบริการ (4) ทุน
- การมีนโยบายร่วม
(Community or Common Policies) ในด้านการค้า การเกษตร (CAP) พลังงาน
สิ่งแวดล้อม ประมง และด้านสังคม เป็นต้น
- สหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
(EMU) EU ได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายของ EMU เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ
1999 ซึ่งมีเงินสกุลเดียวคือ เงินยูโร (Euro) และมีธนาคารกลางของสหภาพ
2. เสาหลักที่สอง นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ
และความมั่นคง (CFSP) และนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Common
Security and Defense Policy)
3. เสาหลักที่สาม ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน (มหาดไทย)
รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การจัดตั้งกองตำรวจร่วม
(Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน ฯลฯ
การค้าและการลงทุน
EU มีสัดส่วนของ GDP
ประมาณร้อยละ 40 ของประเทศ OECD ทั้งหมดในขณะที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ
30 และร้อยละ 19 EU มีมูลค่าการค้ามากที่สุดในโลกคือประมาณ 1 ใน 5 ของการค้าโลก
และนำเข้า สินค้าจากนอกสหภาพเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 21 ของมูลค่าการค้าโลก
โดยทั่วไป มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU (Intra-EU Trade) ยังคงมากกว่ามูลค่าการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม
(Extra-EU Trade) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่า Extra-EU Trade ทั้งหมด
<< ข้อมูลพิ่มเติมเกี่ยวกับสหภาพยุโรป
>>