5 - 12 มีนาคม 2555
1. สภาพอากาศ
1.1 อุณหภูมิ
ภาคเหนือ
อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศา สูงสุด
33-37 องศา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิต่ำสุด
21-24 องศา สูงสุด 35-37
องศา
ภาคกลาง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา
สูงสุด 36-38 องศา
ภาคตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุด
24-26 องศา
สูงสุด 32-37 องศา
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อุณหภูมิต่ำสุด
23-25 องศา สูงสุด
31-33
องศา
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา สูงสุด
31-33
องศา
ภาค |
ความชื้นสัมพัทธ์ (%) |
ภาคเหนือ |
55-65 |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
55-65 |
ภาคกลาง |
60-70 |
ภาคตะวันออก |
70-80 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก |
70-80 |
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก |
70-80 |
ในช่วงวันที่
5-7 มี.ค.
หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน
ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางแห่ง
สำหรับบริเวณภาคเหนือตอนบบน
มีลมตะวันตกพัดปกคลุมทำให้มีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าในระยะนี้
ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค.
บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
และลูกเห็บตกในบางพื้นที่
เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปะทะกับอากาศร้อนที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทย
โดยพายุฤดูร้อนนี้จะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันออก ก่อนในระยะแรก ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง
จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป
ส่วนภาคใต้จะมีคลื่นกระแสลมตะวันออกจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมในช่วงวันที่
9-11 มี.ค. ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ภาคเหนือ
-
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดมุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ
ภาคกลาง
-
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา
และปัตตานี
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ดัชนีการเกิดไฟป่า
|
ความหมาย |
ต่ำ (Low) |
โอกาสเกิดไฟยากมาก
หากเกิดไฟ
ไฟจะแทบไม่มีโอกาสลุกลามแผ่ขยายจากจุดเริ่มต้น
หรือถ้ามีการลุกลามแผ่ขยายออกไป ก็จะสามารถควบคุมได้โดยง่ายมาก
|
ปานกลาง
(Moderate) |
โอกาสที่เกิดไฟง่ายขึ้น และไฟจะลุกลามออกไปได้มากกว่าไฟใน
Class low
แต่จะเป็นไฟลักษณะของไฟที่คืบคลานไปตามผิวดินเท่านั้น
การควบคุมไฟทำได้โดยใช้พนักงานดับไฟป่า และเครื่องมือพื้นฐาน
เข้าทำการดับไฟป่าทางตรง หรือดับไฟทางอ้อม โดยการทำแนวกันไฟ
|
สูง (High) |
โอกาสเกิดไฟป่ามีมาก และไฟจะลุกลามออกไปได้มากกว่าไฟใน
Class Moderate
โดยเปลวไฟมีความรุนแรงปานกลางสูงทำให้การควบคุมไฟป่าทำได้ยาก
การดับไฟป่าทางอ้อมโดยการทำแนวกันไฟอาจจะไม่เพียงพอ
จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหนัก เช่น เครื่องสูบน้ำดับเพลิง,
รถแทรกเตอร์,
เฮลิคอปเตอร์ หรือเครื่องบินทิ้งน้ำดับไฟป่า
เพื่อช่วยการดับไฟที่บริเวณหัวไฟ |
สูงมาก
(Extreme) |
เกิดภาวะความแห้งแล้งรุนแรง
โอกาสในการเกิดไฟป่าสูงมากและเป็นไฟที่มีความรุนแรงสูงมาก
การดับไฟทางตรงจะต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุด
โอกาสที่จะควบคุมไฟได้มีน้อย |
การตรวจติดตามสถานการณ์ไฟป่าด้วยดาวเทียม Aqua โดยระบบ MODIS
จากทางเว็บไซด์
http://rapidfire.sci.gsfc.nasa.gov/subsets/?subset=Indochina2
ในวันที่
4
มีนาคม 55
พบจุด hotspot
%20(3).jpg)
4.
พื้นที่จังหวัดที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่า
ภาคเหนือ
: อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
37
องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับ
สูงมาก
(Extreme)
และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.เชียงใหม่
จ.เชียงราย จ.ลำพูน
จ.ลำปาง
จ.ตาก
จ.แพร่ จ.สุโขทัย
จ.พิจิตร
จ.เพชรบูรณ์
และ
จ.พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
:
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
37
องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์
55-65%
ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับ สูงมาก
(Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ
ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่
จ.นครราชสีมา
จ.ชัยภูมิ
จ.ขอนแก่น
จ.มหาสารคาม
จ.สุรินทร์
และ จ.บุรีรัมย์
ภาคกลาง
:
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
38 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์
60-70% ดัชนีการเกิดไฟป่า
(Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับ สูงมาก
(Extreme)
และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ
ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.ราชบุรี
จ.กาญจนบุรี
จ.สุพรรณบุรี
จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.อุัทัยธานี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี และ จ.อ่างทอง
ภาคตะวันออก
: อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
37 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์
70-80% ดัชนีการเกิดไฟป่า
(Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับ สูงมาก
(Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ
ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่
จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
:
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
33
องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์
70-80% ดัชนีการเกิดไฟป่า
(Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับตั้งแต่
ต่ำ (Low)
ไปจนถึง
สูงมาก
(Extreme)
และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่
จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี
และ จ.นครศรีธรรมราช
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
: อุณหภูมิสูงสุดประมาณ
33 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์
70-80% ดัชนีการเกิดไฟป่า
(Fire
Weather Index; FWI)
อยู่ในระดับตั้งแต่
ต่ำ (Low)
ไปจนถึง
สูงมาก
(Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ
ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า
โดยเฉพาะ ท้องที่
จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล
พยากรณ์สถานการณ์ไฟป่าย้อนหลัง
|