Check Mail

คุณเป็นผู้เข้าชมลำดับที่
Free Web Counters


เริ่มนับตั้งแต่ 1/1/2002

Download

 

 
 
 
 

            

9 - 16 มกราคม 2555
      1. สภาพอากาศ

1.1 อุณหภูมิ

ภาคเหนือ  อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศา สูงสุด 28-31 องศา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศา สูงสุด 28-30องศา
ภาคกลาง  อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศา สูงสุด 31-32 องศา
ภาคตะวันออก  อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศา สูงสุด 32-33 องศา
าคใต้ฝั่งตะวันออก  อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา สูงสุด 29-31 องศา
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก  อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศา สูงสุด 31-33 องศา


 

1.2  ความชื้นสัมพัทธ์

 

ภาค

ความชื้นสัมพัทธ์ (%)

  ภาคเหนือ

60-70

  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

60-70

  ภาคกลาง

60-70

  ภาคตะวันออก

65-75

  ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

65-75

  ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

65-75

 

1.3 ความชื้นของเชื้อเพลิง

 

             ในช่วงวันที่ 9-12 ม.ค. 55 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีฝนบางแห่งในระยะแรกจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ประกอบกับในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 55 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกอีกระลอกเคลื่อนผ่านภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ภาคเหนือมีฝนเป็นแห่งๆและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา บริเวณภูเขาสูงในภาคเหนือจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ตอนล่างจะมีคลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้ามาปกคลุม ลักษณะเช่นนี้ทำให้อ่าวไทย และภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-15 ม.ค. 55
 

1.4 ปริมาณน้ำฝน

 

ภาคเหนือ  มีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ภาคกลาง  -
ภาคตะวันออก 
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
าคใต้ฝั่งตะวันออก  ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่   
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก 
มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และ สตูล 

 

1.5 ความเร็วลม


ภาคเหนือ  ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคกลาง  ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก  ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก  ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

 


2. ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index ; FWI)
 
 

    จากการตรวจติดตามดัชนีการเกิดไฟป่า(Fire Weather Index)  http://nofc.cfs.nrcan.gc.ca/seasia/en/index_e.html ในวันที่ 8 มกราคม 55 พบว่า ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าอยู่ในระดับ สูงมาก (Extreme)ส่วนภาคใต้ของประเทศมีความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าอยู่ในระดับตั้งแต่ ต่ำ (Low) ไปจนถึง สูงมาก (Extreme)

 

คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ที่มา
::  http://nofc.cfs.
nrcan.gc.ca/
seasia/en/index_e.html

ดัชนีการเกิดไฟป่า
 

ความหมาย

ต่ำ (Low)

โอกาสเกิดไฟยากมาก หากเกิดไฟ ไฟจะแทบไม่มีโอกาสลุกลามแผ่ขยายจากจุดเริ่มต้น หรือถ้ามีการลุกลามแผ่ขยายออกไป ก็จะสามารถควบคุมได้โดยง่ายมาก

ปานกลาง (Moderate)

โอกาสที่เกิดไฟง่ายขึ้น และไฟจะลุกลามออกไปได้มากกว่าไฟใน “Class low” แต่จะเป็นไฟลักษณะของไฟที่คืบคลานไปตามผิวดินเท่านั้น การควบคุมไฟทำได้โดยใช้พนักงานดับไฟป่า และเครื่องมือพื้นฐาน เข้าทำการดับไฟป่าทางตรง หรือดับไฟทางอ้อม โดยการทำแนวกันไฟ

 สูง (High)

โอกาสเกิดไฟป่ามีมาก และไฟจะลุกลามออกไปได้มากกว่าไฟใน “Class Moderate” โดยเปลวไฟมีความรุนแรงปานกลาง–สูงทำให้การควบคุมไฟป่าทำได้ยาก การดับไฟป่าทางอ้อมโดยการทำแนวกันไฟอาจจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหนัก เช่น เครื่องสูบน้ำดับเพลิง, รถแทรกเตอร์, เฮลิคอปเตอร์ หรือเครื่องบินทิ้งน้ำดับไฟป่า เพื่อช่วยการดับไฟที่บริเวณหัวไฟ

สูงมาก (Extreme)

เกิดภาวะความแห้งแล้งรุนแรง โอกาสในการเกิดไฟป่าสูงมากและเป็นไฟที่มีความรุนแรงสูงมาก การดับไฟทางตรงจะต้องใช้ความระมัดระวังสูงสุด โอกาสที่จะควบคุมไฟได้มีน้อย

3. การติดตามตรวจสอบสถานการณ์ไฟป่าจากดาวเทียม

   การตรวจติดตามสถานการณ์ไฟป่าด้วยดาวเทียม Aqua โดยระบบ MODIS จากทางเวบไซด์ http://rapidfire.sci.gsfc.nasa.gov/subsets/?subset=Indochina2 ในวันที่ 8 มกราคม 55 พบจุด hotspot

4. พื้นที่จังหวัดที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่า


ภาคเหนือ : 
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับ สูงมาก (Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.ตาก จ.แพร่ จ.สุโขทัย จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ และ จ.พิษณุโลก

  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับ สูงมาก (Extreme) ละขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์  

 

ภาคกลาง :   อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับ สูงมาก (Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.อุัทัยธานี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี และ จ.อ่างทอง


ภาคตะวันออก : 
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับ สูงมาก (Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะท้องที่ จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง    

 
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก :
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับตั้งแต่ ต่ำ (Low) ไปจนถึง สูงมาก (Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า   โดยเฉพาะท้องที่ จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช


ภาคใต้ฝั่งตะวันตก : 
อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75% ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire Weather Index; FWI) อยู่ในระดับตั้งแต่ ต่ำ (Low) ไปจนถึง สูงมาก (Extreme) และขอให้ระมัดระวังในการใช้ไฟ ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับป่า โดยเฉพาะ ท้องที่ จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล

 

 

     พยากรณ์สถานการณ์ไฟป่าย้อนหลัง

 

 

 

สถิติการเกิดไฟป่า
ดัชนีการเกิดไฟป่า (Fire weather index)

รมอุตุนิยมวิทยา
http://www.tmd.motc.go.th/

ข้อมูลจากเวบไซด์ไฟป่าต่างประเทศ
http://rapidfire.sci.gsfc.nasa.gov/subsets/?subset=Indochina2
http://www.affrc.go.jp/ANDES/

http://nofc.cfs.nrcan.gc.ca/seasia/en/index_e.html
http://www.cpc.ncep.noaa.gov/
http://www.wunderground.com/global/TH.html


การแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม จากการตรวจหาไฟป่าโดยดาวเทียม