
โครงการ
“วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า
24 ก.พ.”
ความเป็นมา
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
24
กุมภาพันธ์ 2524
กำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ (ขณะนั้น)
ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย
เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าเป็นการเฉพาะ
ซึ่งต่อมากรมป่าไม้ (ขณะนั้น)
และกระทรวงมหาดไทย
ได้ร่วมกันเสนอมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่า
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3
พฤศจิกายน 2524
ให้ดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวอย่างจริงจัง
สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า มีดังนี้
1.
มาตรการระยะสั้น
ได้กำหนดให้จัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่าในพื้นที่ที่มีความสำคัญขึ้นเป็นการเฉพาะ
2.
มาตรการระยะยาว ให้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานอื่นๆ
เพื่อดำเนินการรณรงค์ป้องกันไฟป่าทุกรูปแบบ
ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ
และร่วมมือในการป้องกันไฟป่า
ดังนั้นจึงถือได้ว่า วันที่ 24
กุมภาพันธ์ ของทุกปี
เป็นวันก่อกำเนิดการควบคุมไฟป่าในประเทศไทย
ต่อมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่
22
สิงหาคม 2543
เห็นชอบและอนุมัติให้วันที่ 24
กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า”
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร
งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า
2.
สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา
หน่วยราชการ องค์กรเอกชน
ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า
3.
เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
จากการจุดไฟเผาป่า
การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กำหนดให้ส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า
ทั่วประเทศร่วมกับสถานีควบคุมไฟป่าและศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า
จัดกิจกรรมวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจาก ไฟป่า ในวันที่
24 กุมภาพันธ์ 2555
โดยมีกิจกรรมสรุปได้ดังนี้
1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น
วิทยุ โทรทัศน์
จัดชุดเจ้าหน้าที่ออกไปแจกจ่ายเอกสารทั่วจังหวัด
2.
จัดกิจกรรม เดินรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า
24
กุมภาพันธ์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน
และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
3.
จัดนิทรรศการ ความรู้เรื่องไฟป่า
และนิทรรศการภาพวาดของนักเรียนที่ร่วมเข้าประกวดและผลงานของนักเรียนที่ได้รับรางวัล
4.
สาธิตการใช้เครื่องมือดับไฟป่าและการดับไฟป่า
3.
การปั่นจักรยานเพื่อรณรงค์ในวันปลอดควันพิษจากไฟป่า 24
กุมภาพันธ์
4.
ฝึก/แข่งขันการใช้เครื่องมือดับไฟป่าในรูปแบบเกมส์การแข่งขัน
อาทิเช่น ฝึก/แข่งขันการฉีดน้ำดับไฟป่า
5.
กิจกรรมการแสดงบนเวทีของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา
ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
6.
จัดประกวดแฟนซีขบวนพาเหรด
7.
จัดประกวดภาพวาด คำขวัญ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมไฟป่า
|