สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



ครอบจักรวาล
วันที่ 17 สิงหาคม 2559

Fioria vitifolia (L.) Mattei

Malvaceae

ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2.5 ม. ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2.5 ม. เปลือกเป็นเส้นใยเหนียว มีขนกระจุกรูปดาวกระจาย หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 2–4 มม. ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปฝ่ามือ 3–7 พู หรือเรียบ รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ยาว 2.5–14 ซม. ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมน แผ่นใบมีขนทั้งไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 2.5 ม. เปลือกเป็นเส้นใยเหนียว มีขนกระจุกรูปดาวกระจาย หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 2–4 มม. ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปฝ่ามือ 3–7 พู หรือเรียบ รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ ยาว 2.5–14 ซม. ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมน แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น ก้านใบยาว 1–5 ซม. ดอกออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 1.5–3 ซม. ริ้วประดับมี 8–10 อัน รูปแถบ ยาว 0.6–2 ซม. ติดทน กลีบเลี้ยงยาว 1–2 ซม. มี 5 กลีบ แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่ง ขยายในผล ดอกสีเหลือง โคนด้านในสีม่วงอมแดง มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.5–5 ซม. ด้านนอกมีแถบขน 2 แนว เส้าเกสรยาว 0.8–2 ซม. อับเรณูรูปตัวยู ติดตลอดความยาว รังไข่มีขนสาก ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตกเป็น 5 ซีก สั้นกว่ากลีบเลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. มีสันปีก 5 สัน ปลายเป็นจะงอย มีขนแข็งกระจาย ก้านผลเป็นข้อ แต่ละซีกมี 2–4 เมล็ด รูปคล้ายไต ยาว 2–3 มม. ผิวมีตุ่ม

พบในแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่าหรือที่รกร้าง ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร ใบมีสรรพคุณบำรุงโลหิต

สกุล Fioria Mattei อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Malvoideae เผ่า Hibisceae มีชนิดเดียว ต่างจากสกุล Hibiscus ที่มีริ้วประดับยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง และเส้าเกสรไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก

ชื่อพ้อง  Hibiscus vitifolius L., H. yunnanensis S.Y.Hu

ชื่อสามัญ  Grape-leaved mallow, Tropical fanleaf, Wild okra

ครอบจักรวาล: ริ้วประดับยาวเท่า ๆ กลีบเลี้ยง เส้าเกสรไม่ยื่นพ้นกลีบดอก (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)

เอกสารอ้างอิง

Tang, Y., M.G. Gilbert and L.J. Dorr. (2007). Malvaceae (Hibiscus yunnanensis), In Flora of China Vol. 12: 292.