สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   



กระบากทอง
วันที่ 31 มีนาคม 2559

Anisoptera curtisii Dyer ex King

Dipterocarpaceae

ไม้ต้น สูงได้กว่า 40 ม. มีเกล็ดรังแค ต่อม และขนรูปดาวสีน้ำตาลอมเหลือง ตามกิ่งอ่อน ตาใบ หูใบ แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก และกลีบเลี้ยง หูใบยาว 3–7 มม. ใบรูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 5–15 ซม. เส้นแขนงใบข้างละ 12–25 เส้น ก้านใบยาว 1–2.5 ซม. ช่อดอกยาว 5–10 ซม. กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 1.5 มม. กลีบดอกรูปใบหอกแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้มี 25 อัน รยางค์ยาวประมาณ 3 เท่าของอับเรณู ฐานก้านเกสรเพศเมียรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 มม. มีขนรูปดาวสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียแยก 3 แฉก ปีกยาว ยาว 7–12 ซม. ปีกสั้น ยาว 1.3–3 ซม. ก้านผลยาว 3–5 มม. ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.3 ซม. ผิวเกลี้ยงหรือแตกระแหง เป็นสะเก็ดเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่ม

พบที่พม่าตอนล่าง คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่ ยะลา นราธิวาส และสตูล ขึ้นหนาแน่นในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 850 เมตร บางครั้งมีรายงานลูกผสมระหว่างกระบากและกระบากทองที่คาบสมุทรมลายู อย่างไรก็ตาม ทางภาคใต้ตอนล่างพบเฉพาะกระบากทอง

กระบากทอง: โคนต้นมีพูพอน เส้นแขนงใบจำนวนมาก เรียงจรดกันเป็นเส้นขอบใน แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดรังแคสีน้ำตาลอมเหลือง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

เอกสารอ้างอิง

Ashton, P.S. Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 112-116. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 327–337.

Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 112–116.

Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam 25: 11–16.