Index to botanical names
Euphorbiaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แยกเพศต่างต้น หูใบรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน รูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 8–27 ซม. ขอบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 2–8 ซม. ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้แบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 25 ซม. ก้านดอกยาว 1–4 มม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปไข่ ยาว 2–3 มม. เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูแบน สั้น อับเรณูเบี้ยว ช่อดอกเพศเมียมีดอกเดียว ก้านดอกยาว 3–9 ซม. ปลายก้านหนา กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1.6–1.8 มม. ขอบจักชายครุย ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก ติดทน ยาว 0.8–1.5 ซม. ผลแห้งแตก จัก 2 พู ถ้ามี 2 เมล็ด หรือกลมถ้ามีเมล็ดเดียว เกลี้ยง เมล็ดรูปรีกว้าง ยาว 1.2–1.3 ซม.พบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย หมู่เกาะโซโลมอน ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1100 เมตรสกุล Cleidion Blume มีประมาณ 25 ชนิด ส่วนใหญ่พบในอเมริกาใต้ ในไทยมี 2 ชนิด ชนิด C. brevipetiolatum Pax & K.Hoffm. พบบนเขาหินปูนทางภาคเหนือ รังไข่มี 3 ช่อง กลีบเลี้ยงขยายในผล และผลมีขนยาว ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kleidion” กุญแจ ตามลักษณะของเกสรเพศผู้หรือก้านดอกเพศเมีย
ชื่ออื่น กาดาวกระจาย (ประจวบคีรีขันธ์); กาไล, กำไล (สุราษฎร์ธานี); คัดไล (ระนอง); จ๊ามะไฟ (ภาคเหนือ); เซยกะชู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); ดินหมี, ดีหมี (ลำปาง); มะดีหมี (ภาคเหนือ)
ดีหมี: ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผลเกลี้ยง มี 1–2 พู เกสรเพศเมียติดทน ปลายก้านผลหนา (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
van Welzen, P.C. and K. Kulju. (2005). Euphorbiaceae (Cleidion). In Flora of Thailand Vol. 8(1): 164–167.