Index to botanical names
เคลง
Melastomataceae
ไม้พุ่มอิงอาศัย กิ่งส่วนมากเป็นเหลี่ยมและมีริ้ว ข้อหนา ใบเรียงตรงข้าม เส้นโคนใบ 1–3 เส้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง บางครั้งลดรูปมีเพียงดอกเดียว ฐานดอกรูปคนโท คอดเหนือรังไข่ กลีบเลี้ยงจักตื้น ๆ 4 กลีบ หรือเรียบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 8 อัน ส่วนมากยาวเท่า ๆ กัน อับเรณูรูปแถบ ปลายมีรูเปิด แกนอับเรณูหนา โคนมีเดือย ปลายส่วนมากไม่มีรยางค์ รังไข่มี 4 ช่อง ยาวไม่เกินกึ่งหนึ่งของฐานดอกรูปถ้วย ไม่มีช่องพิเศษ (stamen pocket หรือ extaovarian chamber) ผลสดมีหลายเมล็ด ปลายคอดเป็นวงกลีบเลี้ยงสกุล Pachycentria มีประมาณ 8 ชนิด พบในเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคมาเลเซีย ในไทยมี 3 ชนิด คล้ายกับสกุล Medinilla ฐานดอกไม่คอดเหนือรังไข่ รังไข่ยาวและมีช่องพิเศษ ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “pachys” หนา และ “kentron” เดือย ตามลักษณะของอับเรณู
ไม้พุ่มอิงอาศัย สูงได้ถึง 4 ม. ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 5–10 ซม. เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น แผ่นใบข้างหนา ด้านบนมีรอยย่น ด้านล่างสีม่วงอมแดง ก้านใบยาว 1–1.7 ซม. ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง ยาว 2–6 ซม. ก้านช่อยาว 1–3 ซม. แต่ละช่อมี 2–7 ดอก ใบประดับรูปใบหอก ยาว 1–3 มม. ฐานรองดอกยาว 4–8 มม. กลีบเลี้ยงขอบสูงประมาณ 1–1.5 มม. จักตื้น ๆ ดอกสีชมพูเปลี่ยนเป็นสีขาว กลีบรูปไข่หรือรูปรี ยาว 1.2–1.8 ซม. ปลายแหลม โคนตัด เกสรเพศผู้ 8 อัน ยาวไม่เท่ากัน ปลายมีจะงอยยาว โคนมีเดือยสั้น ๆ อับเรณูวงนอกยาว 0.6–1 ซม. วงในยาว 5–7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 6–8 มม. สุกสีแดง ขอบกลีบเลี้ยงสูง 4–5 มม.พบที่คาบสมุทรมลายู และทางภาคใต้ของไทยที่เขาหลวงและเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นตามป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 2000 เมตร
ชื่อพ้อง Melastoma varingiaefolium Blume, Medinilla varingiifolia (Blume) Nayar
ชื่ออื่น เคลงใบหยาบ (ทั่วไป)
เคลงกนก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีชมพูเปลี่ยนเป็นสีขาว เกสรเพศผู้ 8 อัน ยาวไม่เท่ากัน ปลายมีจะงอยยาว (ภาพ: ปาจรีย์ อินทะชุบ)
ไม้พุ่มอิงอาศัย สูงได้ถึง 1.5 ม. มีหัว ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปใบหอก ยาว 5–24 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนา ด้านล่างมักมีสีม่วงอมแดง เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น ก้านใบยาว 0.3–1.5 ซม. ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง ยาว 2–6 ซม. ก้านช่อยาว 1–3 ซม. ดอกจำนวนมาก ใบประดับและใบประดับย่อยรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ติดทน ฐานดอกยาว 3–4 มม. กลีบเลี้ยงขอบสูง 1–1.5 มม. จักตื้น ๆ ดอกสีขาว โคนมีสีแดงแต้ม กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 5–7 มม. ปลายแหลม หนา เกสรเพศผู้ 8 อัน ยาวเท่า ๆ กัน ยาว 5–6 มม. ปลายโค้ง โคนมีเดือยสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 5–7 มม. สุกสีส้มหรือแดงพบที่พม่า คาบสมุทรมลายู สุมาตรา ชวา ซูลาเวสี และฟิลิปปินส์ ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร
เคลงก้านแดง: ใบเรียงตรงข้าม ข้อหนา ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกปลายแหลม สีขาว โคนมีสีแดงแต้ม ผลสุกสีแดง ปลายคอดเป็นวงกลีบเลี้ยง (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 462–468.