Index to botanical names
ปลาไหลเผือก
Simaroubaceae
ไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ต้นขนาดเล็ก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ไม่มีหูใบ ใบประกอบปลายคี่ ใบย่อยเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน เรียงจรดกันเป็นเส้นขอบใน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว ดอกมีเพศเดียวหรือสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5–6 กลีบ เกสรเพศผู้เท่าจำนวนกลีบดอก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันติดระหว่างโคนก้านชูอับเรณู มี 5–6 คาร์เพล แยกกัน แต่ละคาร์เพลมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียติดกันตอนปลาย ยอดเกสรรูปโล่ จัก 5–6 พู ผลผนังชั้นในแข็ง มี 1–5 ผลย่อยสกุล Eurycoma มี 3 ชนิด พบเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยมี 2 ชนิด ชื่อสกุล มาจากภาษากรีก “eurys” กว้างหรือใหญ่ และ “kome” ขน หมายถึงดอกที่ออกเป็นช่อขนาดใหญ่แน่นเป็นกระจุก
ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ใบประกอบยาวได้กว่า 1 ม. เรียงหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง ใบย่อยจำนวนมาก รูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 5–20 ซม. โคนเบี้ยว ก้านสั้นมากหรือไร้ก้าน ช่อดอกขนาดใหญ่ มีขนละเอียดและขนต่อมกระจาย ดอกสีแดง ก้านดอกหนา ยาวประมาณ 7 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกรูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือแกมรูปไข่ ยาว 4–5 มม. มีขนละเอียด เกสรเพศผู้ยาว 1.5–2.5 มม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวได้ถึง 2 มม. ในดอกเพศเมียสั้นมาก ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ติดเหนือรังไข่ประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. ผลย่อยรูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1–2 ซม. ก้านผลยาวประมาณ 3 มม.พบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร มีสรรพคุณช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แยกเป็น subsp. eglandulosa (Merr.) Noot. พบในฟิลิปปินส์ ดอกและช่อดอกไม่มีขนต่อม กลีบดอกขนาดใหญ่กว่า
ชื่อสามัญ Ali’s umbrella
ชื่ออื่น กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี); คะนาง, ชะนาง (ตราด); ตรึงบาดาล (ปัตตานี); ตุงสอ (ภาคเหนือ); ตุวุเบ๊าะมิง, ตูวุวอมิง (มาเลย์-นราธิวาส); ปลาไหลเผือก (ภาคกลาง); เพียก (ภาคใต้); หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไหลเผือก (ตรัง); เอียนดอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); แฮพันชั้น (ภาคเหนือ)
ปลาไหลเผือก: ช่อดอกขนาดใหญ่ ดอดสีแดง มี 1–5 ผลย่อย รูปรีหรือรูปไข่ ก้านผลยาว (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา, นันท์นภัส ภัทรหิรัญไตรสิน, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
ไม้พุ่มเตี้ย สูงได้ถึง 30 ซม. ใบประกอบยาว 8–18 ซม. มีใบย่อย 2–5 คู่ รูปแถบ ยาว 3–7 ซม. โคนเบี้ยว ไร้ก้าน ช่อดอกยาวได้ถึง 15 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีขนต่อม ดอกสีแดง ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–1.5 มม. กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 3–3.5 มม. มีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวประมาณ 2 มม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรรูปโล่ มี 1–5 ผลย่อย รูปรีแคบ ยาวประมาณ 1 ซม. ก้านผลสั้นพบที่ลาว และกัมพูชา ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ และภาคตะวันออกที่อุบลราชธานี ขึ้นตามป่าเต็งรัง ความสูงถึงประมาณ 300 เมตร
ปลาไหลเผือกเล็ก: ไม้พุ่มเตี้ย ใบย่อยรูปแถบ ช่อดอกออกตามซอกใบ มีขนแต่ไม่มีขนต่อม ผลย่อยรูปรีแคบ ก้านผลสั้น (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, โสมนัสสา แสงฤทธิ์)
Nooteboom, H.P. (1981). Simaroubaceae. In Flora of Thailand Vol. 2(4): 443–445.
Nooteboom, H.P. (1962). Simaroubaceae. In Flora Malesiana Vol. 6: 205–207.