สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ)
(Concise Encyclopedia of Plants in Thailand)


หมวดตัวอักษร 


Index to botanical names


ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาคำศัพท์   

ติ้ว

ติ้ว
วันที่ 2 ตุลาคม 2560

Lagerstroemia venusta Wall. ex C.B.Clarke

Lythraceae

ดูที่ เสลาดำ

ติ้ว  สกุล
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum Blume

Hypericaceae

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ส่วนมากผลัดใบ ใบเรียงตรงข้าม แผ่นใบด้านล่างมักมีจุดโปร่งแสง ช่อดอกแบบช่อกระจุกหรือแยกแขนง ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงขยายในผล เกสรเพศผู้จำนวนมาก แยกเป็น 3–5 มัด ระหว่างมัดมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันคล้ายเกล็ด ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเกินกึ่งหนึ่ง อับเรณูติดด้านหลัง รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน กางออก ยอดเกสรเป็นตุ่ม ผลแห้งแตกตามยาว เมล็ดมีปีกข้างเดียว ยาวกว่าเมล็ด หรือปีกรอบเมล็ด

สกุล Cratoxylum เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Clusiaceae (Guttiferae) มี 6 ชนิด พบในเอเชีย ในไทยมี 5 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “kratos” แข็ง และ “xylon” เนื้อไม้


ติ้วเกลี้ยง
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume

Hypericaceae

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. ลำต้นและกิ่งเรียบ เกลี้ยง มักมีหนาม ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3–12 ซม. แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 2–5 มม. ปลายมน แหลม หรือแหลมยาว โคนรูปลิ่ม ช่อดอกมี 1–5 ดอก ออกสั้น ๆ ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 1–3 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 5–7 มม. ปลายมน มีต่อมเป็นริ้วกระจาย ดอกสีชมพูอมแดงหรือส้ม กลีบรูปไข่กลับ ยาว 0.5–1 ซม. มีต่อมกระจาย ปลายกลม ไม่มีเกล็ด มัดเกสรเพศผู้ยาว 4–8 มม. ระหว่างมัดมีเกล็ดหนารูปลิ้นสีเหลือง ยาวประมาณ 3 มม. ก้านชูอับเรณูสั้น รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ผลรูปรี ยาว 0.8–1.2 ซม. กลีบเลี้ยงหุ้มเกินกึ่งหนึ่ง เมล็ดยาว 6–8 มม. รวมปีก

พบที่จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และฟลิปปินส์ ในไทยพบทุกภาค ขึ้นในปาผลัดใบและไม่ผลัดใบ ความสูงถึงประมาณ 1200 เมตร ผลอ่อนเป็นเครื่องเทศใช้ปรุงอาหาร รากและกิ่งมีสรรพคุณแก้ไอ ท้องเสีย ใบอ่อนใช้ชงแทนใบชา

ชื่อพ้อง  Hypericum cochinchinense Lour.

ชื่อสามัญ  Yellow cow wood

ชื่ออื่น   กุ่ยฉ่องบ้าง (กะเหรี่ยง-ลำปาง); ขี้ติ้ว, ติ้วเกลี้ยง, ติ้วใบเลื่อม (ภาคเหนือ)

ติ้วเกลี้ยง: ลำต้นและกิ่งเรียบ เกลี้ยง ช่อดอกมี 1–5 ดอก ออกสั้น ๆ ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ระหว่างมัดเกสรเพศผู้มีเกล็ดหนารูปลิ้นสีเหลือง กลีบเลี้ยงหุ้มผลเกินกึ่งหนึ่ง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ติ้วใบเลื่อม
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume

Hypericaceae

ดูที่ ติ้วเกลี้ยง

ติ้วขน
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer subsp. pruniflorum (Kurz) Gogelein

Hypericaceae

ดูที่ ติ้วขาว

ติ้วขาว
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum formosum (Jack) Benth. & Hook.f. ex Dyer

Hypericaceae

ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ผลัดใบ อาจสูงได้ถึง 20 ม. ต้นอ่อนมีหนาม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา สีน้ำตาลดำ กิ่งเกลี้ยง ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 3–10 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 2–7 มม. ปลายมนหรือแหลม โคนรูปลิ่มกว้าง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกมี 1–8 ดอก ออกสั้น ๆ ตามซอกใบที่หลุดร่วง ก้านดอกยาว 0.3–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน ยาว 5–7 มม. ปลายมน มีต่อมเป็นริ้วกระจาย ดอกสีขาวอมชมพู กลีบรูปไข่กลับ ยาว 1–1.5 ซม. มีก้านสั้น ๆ ปลายกลีบมีต่อมกระจาย ขอบมีขนครุย ปลายกลม มีเกล็ดขนาดเล็ก มัดเกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1 ซม. ระหว่างมัดมีเกล็ดรูปลิ้นขนาดเล็ก ก้านชูอับเรณูยาวเท่า ๆ มัดเกสรเพศผู้ แกนอับเรณูไม่มีต่อม รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–8 มม. ผลรูปขอบขนาน ยาว 0.6–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงหุ้มประมาณกึ่งหนึ่ง เมล็ดยาว 6–7 มม. รวมปีก

พบที่จีนตอนใต้ ไห่หนาน พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในไทยพบแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 1000 เมตร แยกเป็น ติ้วขน subsp. pruniflorum (Kurz) Gogelein มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน แผ่นใบทั้งสองด้าน ก้านใบ ก้านดอก และกลีบเลี้ยง กลีบดอกมีต่อมโปร่งแสง แกนอับเรณูมีต่อม เปลือกแก้ท้องร่วงในสัตว์เลี้ยง ใบอ่อนชงแทนใบชาคล้ายติ้วเกลี้ยง

ชื่อสามัญ  Mempat

ชื่ออื่น   ติ้วขาว (กรุงเทพฯ); ติ้วส้ม (นครราชสีมา); แต้วหอม (พิษณุโลก); มูโต๊ะ (มาเลย์-นราธิวาส)

ติ้วขาว: ต้นอ่อนมีหนาม กิ่งและแผ่นใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง กลีบเลี้ยงหุ้มผลประมาณกึ่งหนึ่ง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)

ติ้วส้ม
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

Cratoxylum formosum (Jack) Benth. & Hook.f. ex Dyer

Hypericaceae

ดูที่ ติ้วขาว



เอกสารอ้างอิง

Li, X.W., J. Li and P. Stevens. (2007). Clusiaceae (Cratoxylum). In Flora of China Vol. 13: 36.

Robson, N.K. (1974). Hypericaceae. In Flora Malesiana Vol. 8: 4–14.