| ชงโค
| | | วันที่ 13 กันยายน 2559 |
| Cheniella glauca (Benth.) R.Clark & Mackinder |
|
ไม้เถา หูใบรูปแถบ ยาวประมาณ 4 มม. ใบรูปไข่กว้างหรือเกือบกลม ยาว 4–9 ซม. แฉกลึกไม่เกินกึ่งหนึ่ง แผ่นใบด้านล่างมีขน เส้นโคนใบข้างละ 3–5 เส้น ก้านใบยาว 2–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปแถบ ยาวประมาณ 5 มม. ก้านดอกยาว 1–2 ซม. ใบประดับย่อยติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปไข่ ฐานดอกเป็นริ้ว ยาว 0.7–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงแยกเป็น 2–3 ส่วน ดอกสีขาว กลีบรูปไข่กลับ ยาว 0.8–1.2 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาวเท่า ๆ กลีบดอก อับเรณูสีแดง เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 7 อัน 2 อันขนาดเล็กอยู่ระหว่างเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ อีก 5 อันเชื่อมติดกันที่โคน รังไข่เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียเบี้ยว ฝักรูปใบหอก แบน ยาว 18–25 ซม. มี 10–30 เมล็ด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ แสลงพัน, สกุล)
พบที่อินเดีย พม่า คาบสมุทรมลายู และสุมาตรา ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นกระจายห่าง ๆ ตามชายป่าดิบชื้น ความสูงประมาณ 100 เมตร แยกเป็น subsp. tenuiflora (C.B.Clarke) A.Schmitz ปลายใบแฉกตื้น ๆ ช่อดอกและดอกขนาดใหญ่กว่า ฐานดอกยาวกว่า พบที่พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้
| ชื่อพ้อง Bauhinia glauca (Wall. ex Benth.) Benth., Phanera glauca Benth.
| | | ชื่ออื่น จงโค, ชงโค (ภาคใต้)
| | | |
จงโค: ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่น กลีบเลี้ยงแยกเป็น 2–3 ส่วน ดอกสีขาว กลีบรูปไข่กลับ มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน อับเรณูสีแดง ฝักรูปใบหอก แบน (ภาพ: ราชันย์ ภูมา)
|
| ชงโค
| | | วันที่ 17 สิงหาคม 2559 |
| Phanera bassacensis (Gagnep.) de Wit |
| |
|
| | Bauhinia galpinii N.E.Br. |
|
ไม้พุ่มรอเลื้อย หูใบมี 1 คู่ รูปลิ่มแคบขนาดเล็ก ใบรูปไข่กว้าง กว้าง 2–7 ซม. ยาว 1–5.5 ซม. ปลายแฉกไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกมนกลม แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นโคนใบข้างละ 3 เส้น ก้านใบยาว 0.8–1.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตรงข้ามใบ ก้านช่อหนา ยาว 0.5–1 ซม. มี 2–10 ดอก ก้านดอกยาว 2–3.5 ซม. กลีบเลี้ยงพับงอกลับ ดอกสีแดงเข้ม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 3–4.5 ซม. ก้านกลีบรูปเส้นด้ายยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาวประมาณ 3 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน มี 2–3 อัน รังไข่มีขนละเอียด ฝักรูปขอบขนาน ยาว 8–10 ซม. แบน ปลายเป็นจะงอย มี 3–5 เมล็ด
มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาทางตอนใต้แถบประเทศซิมบับเว แซมเบีย โมซัมบิก สวาซิแลนด์ และแอฟริกาใต้ เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน คำระบุชนิดตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวแอฟริกาใต้ Ernest Edward Galpin (1858–1941)
| | | | | | ชงโคแดง: ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตรงข้ามใบ ดอกสีแดง กลีบเลี้ยงแยกเป็น 2 ส่วน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
| | Bauhinia pottsii G.Don var. mollissima (Wall. ex Prain) K.Larsen & S.S.Larsen |
| |
|
| | Bauhinia pottsii G.Don var. velutina (Wall. ex Benth.) K.Larsen & S.S.Larsen |
| |
|
| | Bauhinia pottsii G.Don var. subsessilis (Craib) de Wit |
| |
|
| ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม. มีขนสั้นนุ่มตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และตาดอก หูใบรูปแถบ ยาว 0.5–1 ซม. ใบกว้างกว่าด้านยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–8 ซม. แฉกลึกเกือบกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกกลม เส้นโคนใบข้างละ 3–4 เส้น ก้านใบยาว 1–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะออกสั้น ๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับย่อยติดใต้กึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปกระสวย ยาวประมาณ 2 ซม. ฐานดอกสั้น ดอกห้อยลงรูประฆัง สีเหลืองหรือสีม่วงอมชมพู มี 1 กลีบมีปื้นสีม่วงเข้มที่โคนกลีบด้านใน กลีบรูปไข่กลับ ยาว 4–5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาว 1–2 ซม. โคนก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1.5 ซม. ฝักรูปแถบ ยาว 7–15 ซม. มีขนกำมะหยี่ ปลายเป็นจะงอย แตกอ้าออกบิดงอ
เข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ซึ่งอาจเป็นอินเดีย เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน เปลือกให้น้ำฝาดแก้บิด ตับอักเสบ
| | | ชื่อสามัญ Yellow Bauhinia
| | | ชงโคดอกเหลือง: ดอกห้อยลงรูประฆัง กลีบดอกมี 1 กลีบมีปื้นสีม่วงเข้มที่โคนกลีบด้านใน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
| | Bauhinia pottsii G.Don var. pottsii |
|
ไม้พุ่มรอเลื้อย มีขนสีน้ำตาลแดงตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ตาดอก และฝัก ใบรูปไข่กว้างเกือบกลม ยาว 9–15 ซม. แฉกลึกถึงประมาณกึ่งหนึ่ง ปลายแฉกกลม เส้นโคนใบข้างละ 5–7 เส้น ก้านใบยาว 3–4 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 10 ซม. ก้านดอกยาว 1–1.5 ซม. ใบประดับย่อยติดประมาณกึ่งกลางก้านดอก ตาดอกรูปใบหอก ยาว 3–4 ซม. ฐานดอกยาวเท่า ๆ ตาดอก กลีบเลี้ยงพับงอกลับ ดอกสีแดงอมชมพู มีปื้นสีเหลืองตรงกลาง กลีบรูปใบหอก ยาว 4–6 ซม. เกสรเพศผู้ 3 อัน ยาว 3–4.5 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 2 อัน รังไข่และก้านเกสรเพศเมียมีขนยาวสีน้ำตาลแดง ฝักแบน หนา ช่วงปลายกว้าง มีจะงอยสั้น ๆ มี 4–6 เมล็ด
พบที่พม่า คาบสมุทรมลายู สุมาตรา และภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สตูล และนราธิวาส ขึ้นตามชายป่าดิบชื้นระดับต่ำ ๆ สีของดอกมีความผันแปรสูง แยกเป็นกลุ่มดอกสีส้มอมเหลือง ชงโคไฟ var. velutina (Wall. ex Benth.) K.Larsen & S.S.Larsen และ var. mollissima (Wall. ex Prain) K.Larsen & S.S.Larsen และกลุ่มดอกสีขาว ชงโคขาว var. subsessilis (Craib) de Wit และ var. decipiens (Craib) K.Larsen & S.S.Larsen ซึ่งแต่ละพันธุ์ในกลุ่มคล้ายกัน ยากในการจำแนก โดยเฉพาะ var. decipiens ที่พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพบ var. subsessilis กระจายหนาแน่นด้วยเช่นกัน
| | | | ชื่ออื่น ชงโคดำ (ตรัง); ชิงโค (ระนอง, สุราษฎร์ธานี)
| | ชงโคดำ: กลีบดอกมีปื้นสีเหลืองตรงกลาง เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 2 อัน (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Boonkerd, T., S. Saengmanee and B.R. Baum. (2004). The varieties of Bauhinia pottsii G. Don in Thailand (Leguminosae-Caesalpinioideae). Plant Systematics and Evolution 232: 51–62. | | Brummitt, R.K., A.C. Chikuni, J.M. Lock and R.M. Polhill. (2007). Leguminosae subfamily Caesalpinioideae. Flora of Zimbabwe 3(2): 25–26. | | Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 4–45. | | Mackinder, B.A. and R. Clark. (2014). A synopsis of the Asian and Australasian genus Phanera Lour. (Cercideae: Caesalpinioideae: Leguminosae) including 19 new combinations. Phytotaxa 166(1): 49–68. |
|
|