Index to botanical names
จำปี
Magnoliaceae
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น กิ่งมักมีช่องอากาศ หูใบหุ้มยอด ร่วงเร็ว ทิ้งรอยชัดเจน ใบเรียงเวียน แผ่นใบหนา ช่อดอกออกตามยอด ซอกใบ หรือปลายกิ่งงัน (brachyblast) ส่วนมากมีดอกเดียว ก้านดอกหนา ใบประดับร่วงเร็ว ทิ้งรอยชัดเจน กลีบรวมหนา มี 6–36 กลีบ เรียงเป็นวง ๆ เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียงเวียนอัดแน่น ก้านชูอับเรณูสั้น แกนอับเรณูเป็นรยางค์สั้น ๆ วงเกสรเพศเมียส่วนมากมีก้านชู คาร์เพลจำนวนมาก แยกกันหรือออกจากจุดเดียวกัน ออวุลมีหลายเม็ด ผลกลุ่มเชื่อมติดกันหรือแยกกัน เมล็ดมีเยื่อหุ้มสกุล Magnolia นับว่าเป็นสกุลพืชโบราณ จากลักษณะที่ไม่มีกลีบดอกที่แท้จริง เดิมแยกเป็นหลายสกุล เช่น Manglietia, Michelia และ Talauma เป็นต้น ปัจจุบันมีเพียง 2 สกุล สกุล Magnolia มีมากกว่า 225 ชนิด พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยเป็นพืชพื้นเมืองมากกว่า 20 ชนิด หลายชนิดเป็นไม้ประดับ ส่วนอีกสกุลคือ Liriodendron L. พบในอเมริกาเหนือ และจีน มี 2 ชนิด ชื่อสกุลตั้งตามนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Pierre Magnol (1638–1715)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. กิ่งมีขนสั้นนุ่ม โคนหูใบแนบติดก้านใบเกินกึ่งหนึ่ง ใบรูปไข่ ยาว 15–35 ซม. ปลายแหลมยาว 0.7–3 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้น เส้นแขนงใบเรียงจรดกันเป็นเส้นขอบใน ก้านใบยาว 1.5–5 ซม. ช่อดอกยาว 1–1.7 ซม. ก้านดอกสั้น ดอกมีกลิ่นหอมแรง สีขาว มี 10–14 กลีบ เรียงหลายวง ยาวเท่า ๆ กัน รูปใบหอกกลับ ยาว 1.5–5 ซม เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1 ซม. รวมแกนอับเรณู ก้านวงเกสรเพศเมียยาว 4–7 มม. มี 8–12 คาร์เพล ส่วนมากไม่ติดผลพบเฉพาะเป็นไม้ประดับ เข้าใจว่าเป็นลูกผสมระหว่าง M. champaca (L.) Baill. ex Pierre กับ M. montana (Blume) Figlar & Noot. ใบมีสรรพคุณเป็นยาปฏิชีวนะ แต่อาจทำให้เป็นหมัน
ชื่อพ้อง Michelia × alba DC.
ชื่อสามัญ White champak
จำปี: กลีบรวม 10–14 กลีบ (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 ม. มีขนตามกิ่ง หูใบ แผ่นใบด้านล่าง กิ่งงัน และก้านผล หูใบติดที่โคนก้านใบ ยาว 1–1.5 ซม. ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 6–13 ซม. ปลายแหลมยาว ยาว 0.7–2 ซม. ก้านใบยาว 1.5–3 ซม. ช่อดอกยาวประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้น ดอกสีขาวหรือมีลายชมพู มี 9 กลีบ เรียง 2 วง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กลีบวงนอก ยาว 1.8–2.2 ซม. กลีบวงในสั้นกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ยาว 1–1.5 ซม. อับเรณูยาว 0.8–1.4 ซม. แกนอับเรณูเป็นรยางค์ ยาว 3–4 มม. มี 7–14 คาร์เพล ผลรูปทรงกระบอก ยาว 2–5 ซม. ผลย่อยแยกกัน ยาว 1–2 ซม.พบที่จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นตามป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างชื้น ความสูง 400–1000 เมตร
จำปีเพชร: ดอกสีขาวหรือมีลายชมพู มี 9 กลีบ เรียง 2 วง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กลีบวงในสั้นกว่าเล็กน้อย ผลรูปทรงกระบอก (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ธรรมนูญ เต็มไชย)
Malvaceae
ไม้พุ่ม ส่วนมากสูง 2–3 ม. แตกกิ่งหนาแน่น มีขนสั้นนุ่มตามกิ่งอ่อน ตายอด ก้านใบ เส้นแขนงใบด้านล่าง กิ่งงัน และใบประดับ โคนหูใบแนบติดก้านจรดปลายก้าน ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ยาว 3–10 ซม. ปลายแหลมมีติ่ง ก้านใบยาว 2–4 มม. ช่อดอกออกสั้น ๆ ใบประดับหนา ดอกมีกลิ่นหอม สีครีม มี 6 กลีบ เรียง 2 วง รูปรี หนา ยาว 1.2–2 ซม เกสรเพศผู้ยาว 7–8 มม. แกนอับเรณูปลายแหลม ก้านวงเกสรเพศเมียยาวประมาณ 7 มม. คาร์เพลเกลี้ยง ผลรูปไข่กว้าง ยาว 2–3.5 ซม.มีถิ่นกำเนิดที่จีน เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน บางครั้งพบสายพันธุ์ดอกสีม่วงหรืออมชมพู มีสรรพคุณช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด
ชื่อพ้อง Liriodendron figo Lour., Michelia figo (Lour.) Spreng.
ชื่อสามัญ Banana shrub
ชื่ออื่น จำปาแขก (จันทบุรี); จำปีแขก (ภาคกลาง)
จำปีแขก: แตกกิ่งหนาแน่น กลีบรวม 6 กลีบ เรียง 2 วง คาร์เพลเกลี้ยง แกนอับเรณูปลายแหลม (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
Rosaceae
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. หูใบติดที่โคนก้านใบ ยาว 1–1.5 ซม. ใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 6–23 ซม. ปลายแหลมยาว มักเบี้ยว ก้านใบยาว 1–2 ซม. ช่อยาวประมาณ 1.5 ซม. ก้านดอกสั้น ดอกสีเหลือง มี 9 กลีบ เรียง 2 วง รูปใบหอกแคบ กลีบวงนอก 3 กลีบ ยาว 1.2–2.2 ซม. กลีบวงใน 6 กลีบ หนากว่า เกสรเพศผู้ยาว 5–7 มม. รวมแกนอับเรณูที่เป็นรยางค์ คาร์เพล 8–12 อัน มีขนสั้นสีเทา ก้านยาว 4–6 มม. ผลรูปทรงกระบอก ก้านยาวประมาณ 4.5 ซม. ผลย่อยแยกกัน ยาว 1.5–2.5 ซม. แต่ละผลมี 1–2 เมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงพบที่คาบสมุทรมลายู และสุมาตรา ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคใต้ที่ชุมพร สงขลา พังงา นราธิวาส ขึ้นตามสันเขาหรือที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 700 เมตร
ชื่อพ้อง Michelia koordersiana Noot.
จำปีถิ่นไทย: กลีบรวม 9 กลีบ เรียง 2 วง รูปใบหอกแคบ ๆ ผลย่อยแยกกัน เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง (ภาพ: มานพ ผู้พัฒน์)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 ม. หูใบแนบติดก้านใบน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ใบรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ยาว 6–25 ซม. ปลายแหลมสั้น ๆ แผ่นใบด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1.5–3.5 ซม. ช่อดอกยาว 1–1.5 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 มม. ดอกมีกลิ่นหอม สีขาว มี 15–21 กลีบ เรียงหลายวง รูปใบหอกแคบ กลีบวงในสั้นกว่าวงนอก ยาว 2.5–3.5 ซม. เกสรเพศผู้ยาว 4–5 มม. รวมแกนอับเรณูที่เป็นรยางค์ คาร์เพลจำนวนมาก ยาว 5–8 มม. ก้านยาว 3–5 มม. ผลรูปรีหรือรูปทรงกระบอก ยาว 6–10 ซม. มีก้านสั้น ๆ ผลย่อยเชื่อมติดกัน แตกออก แกนกลางติดทนพบที่จีนตอนใต้ พม่า และเวียดนาม ในไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร
ชื่ออื่น จำปา (จันทบุรี, นครศรีธรรมราช); จำปาป่า (ภาคตะวันออก); จำปีป่า (ทั่วไป); จุมปี (ภาคเหนือ)
จำปีป่า: หูใบแนบติดก้านใบน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง กลีบรวม 15–21 กลีบ เรียงหลายวง รูปใบหอกแคบ กลีบวงในสั้นกว่าวงนอก (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. หูใบติดก้านใบประมาณกึ่งหนึ่ง ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 11–26 ซม. ปลายแหลมมน แผ่นใบด้านล่างมีขนประปราย ก้านใบยาว 2.5–4 ซม. ช่อดอกยาว 1.3–2.2 ซม. ก้านดอกสั้น ดอกสีครีมอมเหลือง มี 12–15 กลีบ เรียง 2 วง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก วงนอก 3–4 กลีบ ยาว 3–4.5 ซม. วงใน 8–12 กลีบ เรียวแคบกว่าเล็กน้อย เกสรเพศผู้ยาว 0.6–1.2 ซม. ก้านชูอับเรณูยาว 3.5–4 มม. แกนอับเรณูเป็นรยางค์ รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. มี 25–35 คาร์เพล ก้านยาว 0.8–1 ซม. ขยายในผล ผลย่อยแยกกัน ยาว 1–1.4 ซม.พืชถิ่นเดียวของไทย พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลย ภาคตะวันออกที่ชัยภูมิ และภาคกลางที่ลพบุรี ขึ้นตามป่าพรุน้ำจืด ความสูงถึงประมาณ 200 เมตร คำระบุชนิดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จำปีสิรินธร: ดอกสีครีมอมเหลือง มี 12–15 กลีบ วงนอก 3–4 กลีบ วงใน 8–12 กลีบ เรียวแคบกว่าเล็กน้อย (ภาพ: ณรงค์ นันทะแสน)
Annonaceae
Nooteboom, H.P. and P. Chalermglin. (2009). The Magnoliaceae of Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 37: 111–138.
Xia, N., Y. Liu and H.P. Nooteboom. (2008). Magnoliaceae. In Flora of China Vol. 7: 80, 87, 90.