Index to botanical names
กระเบา
Achariaceae
ไม้ต้น ส่วนมากแยกเพศต่างต้น หูใบร่วงเร็ว ใบเรียงเวียน ปลายก้านใบหนา ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ๆ หรือลดรูปเป็นกระจุกตามซอกใบ ใบประดับขนาดเล็กหรือไม่มี กลีบเลี้ยงส่วนมากมี 4 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อม ไม่ติดทน กลีบดอก 4–15 กลีบ แยกกัน เชื่อมติดกันที่โคนหรือเป็นหลอด โคนด้านล่างกลีบมีเกล็ด เกสรเพศผู้มี 5 อัน หรือจำนวนมาก แยกกัน เป็นหมันในดอกเพศเมีย รังไข่มีช่องเดียว พลาเซนตาเรียง 3–6 แถว ออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมีย 3–6 อัน ยอดเกสรแบน ผลสดเปลือกแข็ง บางครั้งผนังชั้นนอกเป็นเส้นใย ชั้นกลางแข็ง ชั้นในนุ่ม เมล็ดรูปไข่แกมสามเหลี่ยมสกุล Hydnocarpus เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Flacourtiaceae มีประมาณ 40 ชนิด พบเฉพาะในเอเชียเขตร้อน ในไทยมี 7 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “hydno” หัว และ “karpos” ผล ตามลักษณะของผลที่ดูคล้ายเป็นหัวขนาดใหญ่
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. แยกเพศร่วมต้น มีขนรูปดาวสั้น ๆ ประปรายตามกิ่ง แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอก ก้านดอก และกลีบเลี้ยง ใบรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่ ยาว 10–30 ซม. ปลายแหลมยาว ขอบเรียบ ก้านใบยาวได้ถึง 2 ซม. ก้านดอกยาวได้ถึง 6 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. ดอกสีครีม กลีบรูปรี ยาวได้ถึง 1.4 ซม. เกล็ดที่โคนเรียวแคบ ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 มม. เกลี้ยง อับเรณูยาวประมาณ 3 มม. เป็นหมันในดอกเพศเมีย รังไข่มีขนหนาแน่น เป็นหมันในดอกเพศผู้ ออวุลมีขนยาว ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวได้ถึง 12 ซม. มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลหนาแน่น ผนังผลชั้นกลางหนาประมาณ 1 ซม. เมล็ดยาวประมาณ 2 ซม. มีขนยาวพบที่พม่า ภูมิภาคอินโดจีน คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว และสุมาตรา ในไทยพบกระจายทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 1600 เมตร สารสกัดจากเมล็ดใช้ทาแก้โรคผิวหนังหลายชนิดรวมทั้งโรคเรื้อน
ชื่อพ้อง Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness.
ชื่อสามัญ Chaulmoogra
ชื่ออื่น กระเบา (ทั่วไป); กระเบาค่าง (ยะลา); กระเบาแดง (ตรัง); กระเบาตึก (เขมร-ภาคตะวันออก); กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง); ตัวโฮ่งจี๊ (จีน); เบา (สุราฎร์ธานี); เบาดง (สตูล); มันหมู (ตรัง); หัวค่าง (ภาคใต้)
กระเบา: ใบเรียงเวียน โคนเบี้ยว ขอบเรียบ กลีบดอกสีครีม รูปรี เกสรเพศผู้ 5 อัน ผลรูปกลม มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลหนาแน่น (ภาพ: Simon Gardner, อรุณ สินบำรุง)
ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. แยกเพศต่างต้น ใบรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 9–22 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว ขอบเรียบหรือจักซี่ฟันห่าง ๆ ก้านใบยาวได้ถึง 1.5 ซม. ช่อดอกมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ก้านดอกยาวได้ถึง 2 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรีกว้าง ยาวประมาณ 9 มม. ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวได้ถึง 8 มม. ด้านนอกมีขนประปราย เกล็ดที่โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย ก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่มีขนหนาแน่น ไม่มีรังไข่ที่เป็นหมันในดอกเพศผู้ ผลรูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวได้ถึง 8 ซม. มีขนสั้นนุ่มสีดำหนาแน่น ผนังผลชั้นกลางหนาประมาณ 3 มม. เมล็ดยาวประมาณ 2.5 ซม.พบที่ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้นที่เป็นหินปูน ความสูงถึงประมาณ 800 เมตร
ชื่ออื่น กระเบากลัก (สระบุรี); กระเบาซาวา (เขมร-กาญจนบุรี); กระเบาพนม (เขมร-สุรินทร์); กระเบาลิง (ทั่วไป); กระเบาหิน (อุดรธานี); กระเบียน (จันทบุรี); กระเรียน (ชลบุรี); ขี้มอด (จันทบุรี); คมขวาน (ประจวบคีรีขันธ์); จ้าเมี่ยง (สระบุรี, แพร่); ดูกช้าง (กระบี่); บักกราย, พะโลลูตุ้ม (มาเลย์-ปัตตานี); หัวค่าง (ภาคใต้)
กระเบากลัก: ขอบใบจักซี่ฟันห่าง ๆ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผลรูปกลม มีขนสั้นนุ่มสีดำหนาแน่น (ภาพ: Bob Harwood, ราชันย์ ภู่มา)
Harwood, B. and B. Webber. (2015). Achariaceae. In Flora of Thailand Vol. 13(1): 2–12.