อุทยานแห่งชาติภูพาน
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอพรรณานิคม
อำเภอเมือง อำเภอกุตบาก
จังหวัดสกลนคร อำเภอสมเด็จ
กิ่งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ
หน้าผาทิวทัศน์ตามธรรมชาติ
ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่า
เป็นปัญหาในด้านทางการเมือง
และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น
ซึ่งนับเป็นประวัติ-ศาสตร์
ของอุทยานแห่งชาติภูพาน
ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 655.34 ตารางกิโลเมตร หรือ 415,439ไร่
ประวัติความเป็นมา
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
7 ตุลาคม พ.ศ.2502
ให้กำหนดป่าเขาภูพาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า
ป่าเขาชมภูพาน จังหวัดสกลนคร
และจังหวัดกาฬสินธุ์
และป่าอื่น ๆ
ในท้องที่จังหวัด่างๆ รวม 14 ป่า
เป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ
โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน
ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู
ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก
และตำบลห้วยยาง ตำบลผังกว้าง อำเภอเมือง
จังหวัดสกลนคร
และตำบลแซงบาดาล
อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2515
ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13
พฤศจิกายน พ.ศ.2515
นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 7
ของประเทศ รวมเนื้อที่ประมาณ 418,125
ไร่
ต่อมาจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีหนังสือที่
กส 09/598 ลงวันที่ 12 มกราคม
พ.ศ.2516
รายงานว่า ตามประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน
พ.ศ.2515 กำหนดให้ที่ดินป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น
ปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนในบางตำบลของจังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแต่ไม่ได้ระบุชื่อตำบลลงไว้
กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติใหม่
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ
และกำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน
ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม
ตำบลพังขวาง ตำบลห้วยยาง
อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกนคร
และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ
ตำบลคำบง อำเภอกุฉินารายณ์
จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2518
ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 106
ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2518
ซึ่งต่อมา
กรมป่าไม้ดำเนินการรังวัดหมายแนวเขตของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน
เพื่อทำการขอเพิกพอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติ
ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2520
ซึ่งอนุมัติในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่บริเวณบ่อหิน
เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่
คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม
ครั้งที่ 2/2521 เมื่อวันที่ 12
ธันวาคม พ.ศ.2521
ให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนพื้นที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
สำนักสงฆ์ถ้ำขาม (หลวงปู่ฝั้น)
และอ่างเก็บน้ำห้วยแข้
ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน
แต่เนื่องจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพาน
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี
พ.ศ. 2518
ไม่ได้ระบุชื่อตำบลบางตำบลไว้
จึงไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนได้
กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2523
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2523
ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนวทางปฏิบัติ
โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นไปใหม่และกันพื้นที่ดังกล่าวออกเสีย
และเพิ่มตำบลที่ตกหล่นให้สมบูรณ์
เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุทยานแห่งชาติป่าภูพาน
ในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่
ตำบลห้วยบ่อ อำเภอพรรณานิคม
ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยางอำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู
ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุตบาก
จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล ตำบลมหาไชย
ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง
กิ่งอำเภอห้วยผึ้งอำเภอกุ-ฉินารายณ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2525
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 99
ตอนที่ 161 ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2525
รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 415,439 ไร่
(คือระบุตำบลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบล
และเพิกถอนสำนักสงฆ์ถ้ำขาม
บ่อหิน พระตำหนักภูพาน อ่างเก็บน้ำห้วยแข้
ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ) |