กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 









 

 

 

ยางนา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์  Dipterocapus  alatus  Roxb. ex  G.Don

ชื่อวงศ์  Dipterocarpaceae

ชื่อสามัญ   Yang

ชื่อทางการค้า   Yang , Gurjan , Garjan

ชื่อพื้นเมือง  ยางนา , ยางขาว , ยางหยวก , ยางแม่น้ำ , (ทั่วไป) ; กาตีล (เขมร, ปราจันบุรี);  ยางนา (เลย)

   ไม้ต้นขนาดใหญ่  สูงถึง 40 - 50  เมตร  ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ  สีเทาหรือเทาปนขาว  โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย  ขนาดเส้นรอบวงเพียงอกของต้นที่มีอายุมาก  ระหว่าง   4 - 7  เมตร  หรือมากกว่า  ยอดและกิ่งอ่อนมีขนทั่วไป  และมีรอยแผลใบปรากฏชัดตามกิ่ง

                        รูปทรง (เรือนยอด)  เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ

                        ใบ   ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับ  รูปรี  รูปรีหรือรูปไข่ ใบอ่อนมีขนสีเทาประปราย  ใบแก่เกลี้ยงหรือ
เกือบเกลี้ยง มีขนประปราย

                        ดอก  ออกเป็นช่อสั้นๆ ไม่แตกแขนงตามง่ามใบตอนปลายกิ่งแต่ละช่อมี  3 - 8  ดอก 

                                       สี  ขาวอมชมพู

                                       กลิ่น  -

                                       อ อกดอก  ระหว่างเดือน มีนาคม - พฤษภาคม

                        ผล  เป็นแบบผลแห้ง  ตัวผลกลมหรือหรือรูปไข่ ยาว  2.5 - 3.5  ซม.  มีครีบยาว  5  ครีบ ด้านบนมีปีก 2  ปีก  ปลายมน  มีเส้นตามยาว 3  เส้น  ปีกอีก  3  ปีก มีลักษณะสั้นมากคล้ายหูหนู

                                       ผลแก่  ระหว่างเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน

   

     พบขึ้นในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทยในระดับความสูงของน้ำทะเลเฉลี่ยคือ 350 เมตรในต่างประเทศพบที่บังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย

  การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า   ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด

  ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก 

                        ดิน  ชอบดินที่มีอินทรียวัตถุค่อนข้างอุดมสมบูรณ์

                        ความชื้น  ชอบความชื้นปานกลาง

                        แสง  ลูกไม้ยางนาชอบขึ้นบริเวณใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่  ที่มีแสงแดดส่องถึง (แดดรำไร) เมื่อพ้นระยะลูกไม้ ( หลังยางนาอายุ  1  ปี) ต้องการแสงแดดเต็มวัน  จึงควรทยอยเปิดร่มเงาออก

  การปลูกดูแลบำรุงรักษา    

                       การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก   ก่อนนำเมล็ดไปเพาะควรนำเมล็ดมาตัดปีกออกก่อนวัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดไม้
ปกตินิยมใช้ทรายท้องน้ำคั่วหรือราดยาฆ่าเชื้อราก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ราทำลายกล้าไม้ที่จะงอกใหม่ๆได้วางเรียงเมล็ดไม้ที่ตัดปีกออกแล้วให้ส่วนที่
เป็นปลายรากหงายขึ้นมา(ส่วนที่เป็นรอยต่อของเมล็ดกับปีก)  กดเมล็ดให้จมลงในทรายให้ระดับปลายรากอยู่ในระดับผิวทรายแล้วโรยทับด้วย
ขลุยมะพร้าวบางๆรดน้ำทุกวันเช้า-เย็นให้ความชุ่มชื่นนี้พอเพียงเมล็ดใหม่จะงอกหลังจากเพาะแล้ว4-5วันจากนั้นจึงทำการย้ายเมล็ดที่งอกลงใน
ถุงเพาะชำต่อไป

                        วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม    ควรทำในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนระยะปลูกที่เหมาะสมควรใช้
ระยะห่าง4x4เมตรอัตราการรอดตายสูงมากและเจริญเติบโตได้ดีหลุมปลูกควรมีขนาด30x30x30ซม.ก้นหลุมควรมีผิดดินที่ร่วนซุยหรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์
รองก้นหลุมเมื่อปลูกแล้วควรกลบหลุมให้ระดับผิวดินอย่าให้น้ำขัง

  โรคและแมลง     โรคพืชที่พบในไม้วงศ์ยางได้แก่เชื้อจุรินทรีย์ที่ให้โทษได้แก่-ระยะที่เป็นเมล็ดได้แก่เชื้อราที่ทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น  (มีประมาณ50ชนิด)  ระยะที่เป็นกล้าไม้ได้แก่โรคเน่าคอดิน  แมลงศัตรูพืชได้แก่แมลงเจาะเมล็ดไม้ได้แก่ด้วงงวงเจาะเมล็ด
แมลงกินใบได้แก่พวกหนอนไหมป่า,หนอนบุ้ง,ด้วงค่อมทอง
แมลงเจาะเปลือกได้แก่ด้วงงวงเจาะเปลือก
แมลงเจาะลำต้นได้แก่ด้วยหนวดยาวเจาะลำต้น

  อัตราการเจริญเติบโต   ยางนาเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าโดยไม้ที่มีอายุประมาณ 14 ปี  มีความโตทางเส้นรอบวงเฉลี่ยถึง 82.84 ซม. มีปริมาตร 3.83 ลบ.ม./ไร่ (7 ตัน / ไร่) 

 

                       การเก็บรักษา  ไม้ยางนาถ้านำไปอาบน้ำยาสามารถทนทานต่อการทำลายของปลวกและเชื้อราได้ดี  จึงทำให้มีอายุการใช้งานนาน (มากกว่า 10 ปีขึ้นไป)

                        การแปรรูป  เนื่องจากเนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเทา เสี้ยนตรงเนื้อไม้หยาบ  แข็งปานกลาง เลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย จึงนิยามนำมาเลื่อยทำ  ฝาบ้าน ทำไม้คร่าว ไม้ระแนง โครงหลังคา ทำพื้น เพดาน รอด ตง และ  เครื่องเรือนต่าง ๆ

                       การตลาด  ราคาไม้ยางแปรรูป (หนาxกว้างxยาว)  ไม้ฝา (1/2" x 6" x 6") เมตร (รวมค่าใส)  ราคาปี 43   = 410 บาท / ลบ.ฟุต
ไม้ระแนง (1" x 1" x 4") เมตร  ราคาปี 43  =  275 บาท / ลบ.ฟุต  ไม้พื้น (1" x 8" x 6") เมตร  ราคาปี 43  =  385  บาท / ลบ.ฟุต  ไม้หน้าเล็ก (1.1/2" x 3" x 2.5") เมตร  ราคาปี 43  =  215 - 245  บาท / ลบ.ฟุต  ไม้เสา  (5" x 5" x5- 6") เมตร  ราคาปี 43  =  435  บาท / ลบ.ฟุต

                       การบริโภค  สถิติย้อนหลัง 20 ปี ปีพ.ศ.2520-2541 ที่ผ่านมาพบว่ามีการนำไม้  ยางนามาใช้ในปริมาณมากถึง 6,669,999.26 ลบ.ม. 

                       การนำเข้า  การนำเข้าไม้ยางนาสถิติปี พ.ศ.2539-2543 
                                                    ปี 2539  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 427049 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 3,485,420 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2540  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 343081 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 2,542,797 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2541  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 173759 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,413,054 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2542  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 155023 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,005,301 x 1,000 บาท
                                                    ปี 2543  นำเข้าไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 329773 ลบ.ม
                                                    คิดเป็นเงิน 1,986,224 x 1,000 บาท

                       การส่งออก  การส่งออกไม้ยางนาสถิติปี พ.ศ.2540 - 2544   
                                                    ปี 2540  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 4,000  ลบ.ม
                                                    ปี 2541  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 2,452  ลบ.ม
                                                    ปี 2542  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 1,955  ลบ.ม
                                                    ปี 2543  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 4,337  ลบ.ม
                                                    ปี 2544  ส่งออกไม้ยางนา  ปริมาตรรวม 2,665  ลบ.ม



                     
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ 
  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน  ใช้ทำเรือขุด  เรือขนาดย่อม เครื่องเรือน  ใช้ทำพื้น ฝาเพดาน   รอด  ตง เป็นไม้หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์  ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ  ให้ร่มเงา  กำบังลม  ให้ความชุ่มชื้น  ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์  ปลูกสองฝั่งถนน  เพื่อความสวยงาม

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ  ไม่พบประโยชน์ทางตรง แต่พบว่าเป็นตัวเอื้อประโยชน์
ในการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซ่าทั้งในป่าดิบแล้ง  ป่าดิบชื้น ซึ่งเรียกว่า เห็ดยาง ซึ่งนำไปเป็นอาหารได้

                      การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร   ต้น สรรพคุณ   มีน้ำมันยาง

                                                                  เปลือก  สรรพคุณ  น้ำต้มเปลือกกินแก้ตับอักเสบ  บำรุงร่างกาย  ฟอกเลือด  และใช้ทาถูนวด (ขณะร้อน)  แก้ปวดตามข้อ