| เฟินขึ้นบนดิน เหง้าทอดนอน เกล็ดแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ รูปแถบ ยาวประมาณ 1.5 มม. ใบประกอบรูปสามเหลี่ยมกว้าง กว้างยาวประมาณ 50 ซม. ก้านใบยาวได้ถึง 80 ซม. มีขนประปราย โคนมีเกล็ด ใบประกอบย่อย 3–5 คู่ แกนกลางใบ แผ่นใบด้านล่าง และเส้นใบมีขนละเอียด ใบช่วงโคนแยกแขนง 2–3 ชั้น รูปสามเหลี่ยมเบี้ยว ยาวได้ถึง 50 ซม. ใบช่วงปลายเรียวแหลม โคนรูปลิ่ม ใบย่อยที่โคนขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านสั้นหรือไร้ก้าน จักมน กลุ่มอับสปอร์ติดที่ปลายเส้นใบ กระจายห่าง เรียงข้างละแถวของเส้นกลางใบย่อย มีเยื่อคลุม กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มม. มีขนละเอียดหรือเกือบเกลี้ยง
พบที่พม่าและภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูง 400–1200 เมตร
| | | | | | กะฉอดแรด: ใบประกอบย่อยช่วงโคนแยกแขนง 2–3 ชั้น กลุ่มอับสปอร์ติดที่ปลายเส้นใบ กระจายห่าง ข้างละแถวของเส้นกลางใบย่อย (ภาพ: ธรรมรัตน์ พุทธไทย)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1988). Dryopteridaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(3): 364–384. |
| Xing, F., Y. Yuehong and M.J.M. Christenhusz. (2013). Tectariaceae (Tectaria). In Flora of China Vol. 2–3: 733. |