| | Osbeckia thorelii Guillaumin |
|
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1 ม. ใบรูปขอบขนาน ยาว 2–4 ซม. เกือบไร้ก้าน ปลายแหลมหรือมน โคนแหลมหรือกลม เส้นโคนใบข้างละ 1 เส้น แผ่นใบมีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 5 กลีบ ฐานดอกยาว 5–6 มม. มีขนยาวหนาแน่น กลีบเลี้ยงรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ยาว 5–7 มม. กลีบดอกยาว 2–2.5 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน อับเรณูยาวเท่า ๆ กัน ยาวประมาณ 8 มม. ปลายมีจะงอย รังไข่สั้นกว่าฐานดอก มีขนหนาแน่น ผลรูปคนโท ยาวประมาณ 9 มม.
พบในภูมิภาคอินโดจีน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย ขึ้นตามที่โล่งบนลานหินทราย ในป่าดิบแล้ง ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร
| | | | | | เอนอ้าหิน: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง กลีบดอก 5 กลีบ ฐานดอกมีขนยาวหนาแน่น เกสรเพศผู้มี 10 อัน ก้านชูอับเรณูยาวไม่เท่ากัน (ภาพ: ปาจรีย์ อินทะชุบ)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, J. and S.S. Renner. (2007). Melastomataceae. In Flora of China Vol. 13: 361–363. |
| Hansen, C. (1977). Contributions to the flora of Asia and the Pacific region: the Asiatic species of Osbeckia (Melastomataceae). Ginkgoana 4: 1–150. |
| Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 450–455. |