| | Osbeckia nepalensis Hook.f. |
|
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 8–15 ซม. ปลายแหลม โคนกลม เส้นโคนใบข้างละ 2–3 เส้น แผ่นใบมีขนแข็งเอนด้านบน ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม ก้านใบสั้นมาก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ มีได้ถึง 10 ดอก กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจำนวนอย่างละ 5 กลีบ ฐานดอกยาว 0.6–1 ซม. มีติ่งขนเป็นแผ่น ยาวได้ถึง 5 มม. กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 6–8 มม. ร่วงเร็ว กลีบดอกยาว 1–2 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน อับเรณูยาว 6–9 มม. ปลายมีจะงอยสั้น ๆ รังไข่ยาวกว่าฐานดอก ปลายมีขนแข็ง ผลรูปคนโท ยาวได้ถึง 1 ซม.
พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม และคาบสมุทรมลายู ในไทยพบกระจายห่าง ๆ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ขึ้นตามที่โล่งบนลานหิน หรือที่ชื้นแฉะ ความสูง 300–1400 เมตร น้ำคั้นจากใบใช้ทาแผลสด แยกเป็น var. albiflora Lindl. ดอกสีขาว พบที่จีน และเนปาล
| | | | ชื่ออื่น อ้าน้ำ, เอ็นอ้าน้ำ (เชียงใหม่)
| | เอนอ้าน้ำ: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ กลีบดอก 5 กลีบ ฐานดอกมีติ่งขนเป็นแผ่น เกสรเพศผู้มี 10 อัน (ภาพ: ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, J. and S.S. Renner. (2007). Melastomataceae. In Flora of China Vol. 13: 361–363. |
| Hansen, C. (1977). Contributions to the flora of Asia and the Pacific region: the Asiatic species of Osbeckia (Melastomataceae). Ginkgoana 4: 1–150. |
| Renner, S.S., G. Clausing, N. Cellinese and K. Meyer. (2001). Melastomataceae. In Flora of Thailand Vol. 7(3): 450–455. |