| ยอ  สกุล
| | | วันที่ 28 เมษายน 2560 |
| |
ไม้พุ่ม ไม้ต้น หรือไม้เถา หูใบร่วม ส่วนมากรูปสามเหลี่ยม แยกหรือเชื่อมติดกันที่โคน ติดทนหรือร่วงเร็ว ใบเรียงตรงข้าม ช่อดอกเป็นกระจุกแน่นรูปกลมหรือรูปรี ออกเดี่ยว ๆ เป็นกระจุก หรือช่อกระจุก ส่วนมากออกตรงข้ามใบ ดอกรูปดอกเข็ม รูปแตร หรือรูประฆัง ส่วนมากสีขาว ไร้ก้าน เชื่อมติดกันโดยรังไข่ กลีบเลี้ยงปลายตัดหรือจักมน ติดทน กลีบดอกมี 3–7 กลีบ เรียงจรดกันในตาดอก เกสรเพศผู้ 3–7 อัน ติดภายในหลอดกลีบดอกหรือคอหลอด ก้านชูอับเรณูสั้น อับเรณูติดด้านหลัง รังไข่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด หรือมี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลเม็ดเดียว ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน รูปแถบ มี 2 แบบ แบบสั้นและแบบยาว ผลรวมเชื่อมหรือแยกกัน ผนังสด มี 2–4 ไพรีน แต่ละไพรีนมีเมล็ดเดียว
สกุล Morinda มีมากกว่า 40 ชนิด พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 10 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษาละติน “morus” หม่อน และ “indicus” อินเดีย ตามชื่อสามัญ Indian mulberry
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Chen, T. and C.M. Taylor. (2011). Rubiaceae (Morinda). In Flora of China Vol. 19: 220, 223, 229. |
| Das, S.C. and M.A. Rahman. (2011). Taxonomic revision of the genus Morinda L. (Rubiaceae) in Bangladesh. Bangladesh Jornal of Botany 40(2): 113–120. |
| Kesonbua, W. and P. Chantaranothai. (2013). The genus Morinda (Rubiaceae) in Thailand. ScienceAsia 39: 331–339. |