Index to botanical names
Berberidaceae
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. เนื้อไม้สีเหลือง ใบประกอบยาว 20–70 ซม. ใบย่อยมี 4–9 คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 4–15 ซม. โคนกลม เบี้ยว ขอบจักซี่ฟันห่าง ๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม ไร้ก้าน ใบปลายก้านยาว 1–3 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง มีหลายช่อ ยาวได้ถึง 30 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาว 2–3.5 ซม. ดอกสีเหลือง ก้านดอกยาว 3–6 มม. ใบประดับย่อยยาว 3–7 มม. กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 9 กลีบ เรียง 3 วง วงนอกสั้นกว่าวงใน วงในยาวได้ถึง 8 มม. กลีบดอก 6 กลีบ รูปรีปลายมน ยาว 5–8 มม. โคนมีต่อม เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก ยาว 3.5–5.5 มม. อับเรณูมีรยางค์ ก้านเกสรเพศเมียยาว 2–3 มม. ติดทน ผลสด มีนวล สุกสีม่วงเข้ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–8 มม. มี 4–7 เมล็ดพบที่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า และทางภาคเหนือของไทยที่แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ขึ้นตามป่าดิบเขา หรือที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง 1000–2200 เมตรสกุล Mahonia Nutt. อยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Berberidoideae มีประมาณ 60 ชนิด พบในอเมริกาและเอเชีย หลายชนิดเป็นไม้ประดับ และผลหลายชนิดกินได้ ในไทยมีชนิดเดียว ชื่อสกุลตั้งตามนักพืชสวนชาวไอริช Bernard M’Mahon (1775–1816)
ชื่อพ้อง Mahonia siamensis Takeda ex Craib
ขมิ้นต้น: ใบประกอบ ขอบใบจักแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง มีหลายช่อ กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก เรียงเป็นวง ผลมีนวล (ภาพ: สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล, นันท์นภัส ภัทรหิรัญไตรสิน)
Ahrendt, L.W.A. (1961). Berberis and Mahonia a taxonomic revision. Journal of the Linnean Society, Botany. London 57: 322.
Ying, J., D.E. Boufford and A.R. Brach. (2011). Berberidaceae. In Flora of China Vol. 19: 775.