| ไม้เถาล้มลุก ใบรูปไข่กว้าง เรียบหรือจักเป็นพูตื้น ๆ 3 พู ยาว 3–10 ซม. ปลายแหลมยาว โคนรูปหัวใจ เส้นโคนใบ 1–2 คู่ ก้านใบยาว 3–12 ซม. ก้านช่อดอกยาว 3–20 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก ก้านดอกยาว 5–7 มม. ขยายในผล กลีบเลี้ยงรูปรี ยาว 2–2.5 มม. ใต้ปลายกลีบมีรยางค์แข็ง ยาว 3–4 มม. ติดทน ดอกรูปแตร สีแดง หลอดกลีบดอกยาว 3–4.5 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.5 ซม. เกสรเพศผู้ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5–7 มม. เกลี้ยง เมล็ดยาวประมาณ 4 มม. สีดำ มีขนสั้นนุ่ม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ ผักบุ้ง, สกุล)
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน เป็นไม้ประดับ หรือขึ้นเป็นวัชพืช ความสูงถึงประมาณ 1300 เมตร ดอกสีแดงคล้ายกับคอนสวรรค์ I. quamoclit L. ที่ใบเป็นใบประกอบ แฉกรูปเส้นด้ายจำนวนมาก
| | | ชื่อสามัญ Ivy-leaved morning glory, Scarlet creeper, Scarlet morning glory, Star Ipomoea
| ชื่ออื่น เครือตี่แต้ (ภาคเหนือ); จิงจ้อแดง (เชียงใหม่)
| | จิงจ้อแดง: ใบเรียบหรือจักเป็น 3 พู ช่อดอกแบบช่อกระจุก ปลายกลีบเลี้ยงมีรยางค์แข็ง ติดทน เกสรเพศผู้และเพศเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผลเกลี้ยง (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, สุคนธ์ทิพย์ ศิริมงคล)
|
|
|