| ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. มีขนสั้นนุ่มตามหูใบด้านนอก แกนใบประกอบ ใบประดับ ช่อดอก ก้านดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก หูใบรูปใบหอกยาว 0.5–1 ซม. บางครั้งมีหูใบย่อย รูปรี ยาว 2–5 ซม. ใบย่อยมี 5–10 คู่ ก้านใบประกอบยาวได้ถึง 10 ซม. ใบย่อยรูปรีถึงรูปใบหอก เบี้ยว ยาว 5–13 ซม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกเป็นกระจุก 3–10 ช่อ ยาวได้ถึง 20 ซม. ก้านดอกยาว 1–3 มม. ดอกยาว 0.7–1 ซม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกรูปใบหอกกลับ ยาว 5–5.5 มม. โคนก้านชูอับเรณูยาว ยาว 2–4 มม. อันตรงข้ามกลีบเลี้ยงยาวกว่าอันตรงข้ามกลีบดอก โคนมีขนยาว รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียยาว 3–5 มม. มีขนยาว ผลเบี้ยว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 ซม. มี 1–5 ไพรีน
พบที่อินเดีย เนปาล ภูฏาน จีนตอนใต้ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบกระจายหนาแน่นแทบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ความสูงถึงประมาณ 1500 เมตร เปลือกมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ผลใช้เบื่อปลา
| | | | ชื่ออื่น กะตีบ, แขกเต้า, ค้ำ (ภาคเหนือ); ตะคร้ำ (ภาคเหนือ, ภาคกลาง); ปีชะออง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); มะกอกกาน (ภาคกลาง); หวีด (ภาคเหนือ); อ้อยน้ำ (จันทบุรี)
| | ตะคร้ำ: ใบประกอบ เรียงเวียน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งเป็นกระจุก (ภาพ: ปรีชา การะเกตุ, ราชันย์ ภู่มา)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Leenhouts, P.W. (1956). Burseraceae. In Flora Malesiana Vol. 5: 215–218. |
| Peng, H. and M. Thulin. (2008). Burseraceae (Garuga). In Flora of China Vol. 11: 107–108. |
| Pooma, R. (1999). A preliminary account of Burseraceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 27: 57–58. |