| ยาง  สกุล
| | | วันที่ 28 เมษายน 2560 |
| Dipterocarpus C.F.Gaertn. |
|
ไม้ต้น ส่วนมากสูง 30–40 ม. โคนมีพูพอนในชนิดที่ไม่ผลัดใบ เปลือกแตกเป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่องลึกในชนิดที่ผลัดใบ ส่วนมากมีขนรูปดาวสั้นนุ่มตามกิ่ง หูใบ แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ และช่อดอก หูใบหุ้มตายอด ร่วงเร็ว ทิ้งรอยชัดเจน ใบเรียงเวียน พับจีบ เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน ส่วนมากตรงจรดขอบใบ เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได ช่อดอกแบบช่อกระจะออกตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกเรียงสลับไปมา ใบประดับขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบยาว 2 กลีบ กลีบสั้น 3 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก เรียงจรดกัน ดอกสีขาวมีปื้นสีชมพู มี 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก บิดเวียน ร่วงติดกัน เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 15–30 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น แผ่กว้างช่วงโคน อับเรณูมี 4 ช่อง รูปแถบ แกนอับเรณูยื่นเลยอับเรณูเล็กน้อยหรือยาวเท่า ๆ อับเรณู รังไข่ส่วนมากมีขนสั้นนุ่มจรดโคนก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียจักเป็นพูไม่ชัดเจน ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว กลม มักมีขนสั้นนุ่ม ปลายมีติ่งแหลม หลอดกลีบเลี้ยงที่หุ้ม เรียบ เป็นสันหรือปีก โคนคอด กลีบเลี้ยง 2 อันขยายเป็นปีกยาว มีเส้นปีก 3 เส้น ปีกสั้น 3 อัน รูปรีกว้างหรือกลม
สกุล Dipterocarpus อยู่ภายใต้เผ่า Dipterocarpeae โคนกลีบเลี้ยงในผลเรียงจรดกัน ร่วมกับสกุล Anisoptera, Cotylelobium และ Vatica มีประมาณ 70 ชนิด พบที่ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยมี 17 ชนิด ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “dipteros” 2 ปีก และ “karpos” ผล หมายถึงผลมี 2 ปีก ส่วนมากเป็นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง น้ำมันยางใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Ashton, P. (1982). Dipterocarpaceae. In Flora Malesiana Vol. 9: 291–326. |
| Li, X.W., J. Li and P.S. Ashton. (2007). Dipterocarpaceae in Flora of China Vol. 13: 48–49. |
| Pooma, R. and M. Newman. (2001). Checklist of Dipterocarpaceae in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 29: 119–140. |
| Smitinand, T., J.E. Vidal and P.H. Hô. (1990). Dipterocarpaceae. Flore du Cambodge, du Laos et du Vietnam 25: 16–45. |