| ชงโค  สกุล
| | | วันที่ 13 กันยายน 2559 |
| |
ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ไม่มีมือจับ หูใบร่วงเร็ว ใบประกอบมีใบเดียว เรียงเวียน เรียบหรือแฉกลึก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ช่อเชิงหลั่น หรือช่อแยกแขนง ใบประดับและใบประดับย่อยขนาดเล็ก ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยงแยกเป็น 2 ส่วน รูปใบพาย แต่ละส่วนปลายจักตื้น ๆ 2 และ 3 จัก กลีบดอก 5 กลีบ มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ มี 1–10 อัน รังไข่ส่วนมากมีก้าน มี 1 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ฝักแห้งแตกหรือไม่แตก
สกุล Bauhinia อยู่ภายใต้เผ่า Cercideae วงศ์ย่อย Caesalpinioideae ปัจจุบันถูกจำแนกเป็นหลายสกุล สกุลที่พบในไทยได้แก่ Phanera, Lasiobema และ Lysiphyllum ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกคือ วิสัยที่เป็นไม้ต้นหรือไม้พุ่มไม่มีมือจับกับไม้เถามีมือจับ กลีบเลี้ยงแยกข้างเดียวรูปใบพายกับกลีบเลี้ยงแฉกลึก 3–5 แฉก หรือเรียบ และจำนวนเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ ทำให้สกุล Bauhinia เหลือประมาณ 150 ชนิด จากเดิมที่มีประมาณ 300 ชนิด ส่วนมากพบในเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 15 ชนิด รวมที่นำเข้ามาเป็นไม้ประดับ ชื่อสกุลตั้งตามสองพี่น้องตระกูล Bauhin คือ Jean Bauhin (1541–1613) และ Gaspard Bauhin (1560–1624) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์
| | | | | | |
|
เอกสารอ้างอิง | Boonkerd, T., S. Saengmanee and B.R. Baum. (2004). The varieties of Bauhinia pottsii G. Don in Thailand (Leguminosae-Caesalpinioideae). Plant Systematics and Evolution 232: 51–62. |
| Brummitt, R.K., A.C. Chikuni, J.M. Lock and R.M. Polhill. (2007). Leguminosae subfamily Caesalpinioideae. Flora of Zimbabwe 3(2): 25–26. |
| Larsen, K., S.S. Larsen and J.E. Vidal. (1984). Leguminosae-Caesalpinioideae. In Flora of Thailand Vol. 4(1): 4–45. |
| Mackinder, B.A. and R. Clark. (2014). A synopsis of the Asian and Australasian genus Phanera Lour. (Cercideae: Caesalpinioideae: Leguminosae) including 19 new combinations. Phytotaxa 166(1): 49–68. |