| เฟินลอยในน้ำ รากใต้น้ำจำนวนมาก ยาวได้ถึง 5 ซม. มีขนนุ่มหนาแน่น มีไหลแตกแขนงหนาแน่นรูปขนนกคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–3 ซม. ใบเรียงสลับ 2 แถว ซ้อนกันหนาแน่น รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1–2 มม. ไร้ก้าน แยกเป็น 2 พู พูบนอยู่เหนือน้ำ พูล่างอยู่ใต้น้ำ แผ่นใบสีม่วงอมชมพูหรืออมแดง ด้านบนมีปุ่มเล็ก ๆ หนาแน่น มีเยื่อเหนียวกึ่งใสตามขอบใบ สปอโรคาร์ปออกเป็นคู่ เกิดใกล้โคนของพูที่อยู่ใต้น้ำ แต่ละอันมีอับเมกะสปอร์ขนาดเล็กอันเดียวอยู่ด้านล่าง และอับไมโครสปอร์ขนาดใหญ่กว่าอยู่ด้านบนจำนวนมาก มีเยื่อคลุม
พบทั่วไปในเขตร้อน มีความผันแปรสูง บางครั้งแยกเป็นหลายชนิดย่อย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นในหนองน้ำ นาข้าว ที่โล่งแจ้ง ความสูงระดับต่ำ ๆ ใช้เป็นพืชดูดสารพิษ และปุ๋ยพืชสด มีสรรพคุณขับเหงื่อ และขับปัสสาวะ
สกุล Azolla Lam. เดิมอยู่ภายใต้วงศ์ Azollaceae มีประมาณ 7 ชนิด พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยมี 2 ชนิด อีกชนิดคือ A. caroliniana Willd. มีขนาดเล็กกว่า ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก “azos” หรือ “azo” แห้งหรือเผา และ “ollumi” หรือ “olluo” ทำลาย หมายถึงเป็นพืชที่แห้งตายจากความร้อนที่แผดเผา
| | | ชื่อสามัญ Feathered mosquito fern, Water fern
| | | แหนแดง: เฟินลอยในน้ำ รากใต้น้ำจำนวนมาก ลำต้นเป็นไหลเล็ก ๆ แตกแขนงหนาแน่นคล้ายรูปสามเหลี่ยม ยาว 1–3 ซม. ใบเดี่ยวเรียงสลับ 2 แถว ซ้อนกันหนาแน่น (ภาพ: ผาทิพย์ ช่วยเนียม)
|
|
|
เอกสารอ้างอิง | Lin, Y., S. Lei, M. Funston and M.G. Gilbert. (2013). Salviniaceae. In Flora of China Vol. 2–3: 125–126. |
| Lindsay, S. and D.J. Middleton. (2012 onwards). Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/ |
| Tagawa, M. and K. Iwatsuki. (1989). Azollaceae. In Flora of Thailand Vol. 3(4): 605–606. |