1. เสริมสร้างทรัพยากร (พืช สัตว์ มนุษย์)
อนุรักษ์สภาพป่า จำนวน 8,000 ไร่
ปลูกป่าไม้ใช้สอย จำนวน 250 ไร่
ปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน 1,200 ไร่
ปลูกพืชกินได้ พืชสมุนไพรในแปลงธนาคารอาหารชุมชน จำนวน 150
ชนิด


เพาะชำหญ้าแฝก จำนวน 60,000 กล้า

เพาะชำกล้าไม้มีค่า จำนวน 20,000 กล้า

พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
โดยดำเนินการสร้างบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลัง
ปรับพื้นที่เป็นลานกางเต็นท์ ปรับปรุง ภูมิทัศน์
และสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ


ไม้ผลยืนต้น (เพื่อการสาธิต)
- ต้นศุภโชค จำนวน 2 ไร่

- ต้นกาแฟ จำนวน 5 ไร่
- ลิ้นจี่ จำนวน 10 ไร่
- ส้มโชกุน จำนวน 10 ไร่
 
- กล้วยหอม จำนวน 5 ไร่
- ต้นหม่อน (ใช้ผลทำไวน์) จำนวน 10 ไร่

- อาโวกาโด้ จำนวน 5 ไร่
- มะคาเดเมีย จำนวน 10 ไร่
- พลับ จำนวน 5 ไร่
- บ๊วย จำนวน 5 ไร่

พืชไร่ (เพื่อการสาธิต)
- ข้าวโพด จำนวน 10 ไร่
- ข้าวไร่ จำนวน 35 ไร่

- ชา จำนวน 10 ไร่
- ลินิน จำนวน 1 ไร่

ผักต่าง ๆ จำนวน 50 ไร่

เลี้ยงสัตว์ (เพื่อการสาธิต)
- ไก่ชี้ฟ้า จำนวน 50 ตัว
- หมูจินหัว จำนวน 4 ตัว
- แพะพันธุ์นม จำนวน 2 ตัว
- แกะพันธุ์ขน จำนวน 67 ตัว
- เป็ดเทศ จำนวน 50 ตัว
- เป็ดอี้เหลียง จำนวน 50 ตัว

2. ชุมชนเป้าหมาย
วิถีชีวิต
1) ด้านที่อยู่อาศัย/ทำกิน
ได้จัดสรรที่ทำกินให้แก่ราษฎรบ้านแปกแซม จำนวน 4 ไร่ต่อครอบครัว
จำนวน 130 ครอบครัว รวม 520 ไร่
เพื่อให้ทำกินเป็นหลักแหล่งมิต้องทำไร่หมุนเวียนเหมือน
ในอดีตที่ผ่านมา

2) ไม้ใช้สอย (ฟืน)
ราษฎรได้มีไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือนที่ได้จากการปลูก ทำให้
ไม่ไปทำลายป่าธรรมชาติ

3) ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ประกอบอาชีพทำไร่
ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วแดง มันฝรั่ง โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 4
ไร่

4)
ราษฎรได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักสวนครัวจากการเป็นแรงงานในสถานีฯ
และนำกลับไปปฏิบัติจริงที่บ้านของตนเอง

5) ราษฎรได้รับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์เลี้ยง
ได้แก่ หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น
เพื่อนำไปเลี้ยงในครัวเรือนเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป

6)
แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคมีใช้เพียงพอในแต่ละครอบครัว และ
รวมไปถึงการเกษตรราษฎรสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี ซึ่งก่อน
ที่ยังไม่มีโครงการฯ ต้องพึ่งพาปริมาณน้ำฝนเพียงอย่างเดียว

7)
ราษฎรได้เรียนรู้มีประสบการณ์สามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลาย
ทางเลือก ทำให้สามารถจะสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้มากขึ้น
ไม่ต้องลักลอบค้าขายสิ่งผิดกฎหมายอีกต่อไป

คุณภาพชีวิต
1) ราษฎรมีสภาพความเป็นอยู่ในด้านโภชนาการที่ดีขึ้น

2)
ราษฎรได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านภาษาไทย การคิดเลขเป็น
และมีจิตสำนึกในความเป็นไทยมากขึ้น

3) ราษฎรมีสุขภาพที่ดีขึ้น
และมีสุขอนามัยมากขึ้น ทำให้ไม่เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
4) อัตราการเกิดของประชากรลดลงจากการวางแผนครอบครัว

5)
ราษฎรมีรายได้จากการเป็นแรงงานรับจ้างในสถานีฯ ในอัตราวันละ
80-150 บาท/คน/วัน และมีรายได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 3,000-3,500
บาทต่อครอบครัว นอกจากนี้ยังมีรายได้เสริมจากงานฝีมือ เช่น
การทอผ้า เป็นต้น
 |