::
ความเป็นมา :: |
 |
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ป่าไม้ ตำบลอมก๋อย
อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทรงพบว่าพื้นที่ป่าบริเวณดอยแบแล พิกัด MV 286614
ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นบริเวณกว้าง เป็นจำนวนนับพันไร่
และมีแนวโน้มว่าจะมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ แหล่งต้นน้ำบริเวณ ห้วยอมแฮด,
ห้วยแบแล, ห้วยแม่ตื่น, ห้วยพะอัน, ห้วยกองซาง,
ห้วยไคล้นุ่น จะประสบภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำ
ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อย
ในอนาคต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงมีวินิจฉัยแล้ว
ให้จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงขึ้น
โดยนำพื้นที่ที่ถูกบุกรุกแผ้วถางแล้วมาจัดทำเป็นแปลงปลูกพืชเมืองหนาวและ
ให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
เข้ามามีส่วนร่วมในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการเกษตร
ทั้งนี้
ก็เพื่อหยุดยั้งมิให้ราษฎรบุกรุกแผ้วถางป่าเพิ่มขึ้นอีกต่อไป |
|
 |
|
:: ที่ตั้ง :: |
ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย
ยางเปียง แม่ตื่น บริเวณดอยแบแล-ดอยอมแฮด ท้องที่ตำบลสบโขง
อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พิกัดที่ตั้ง QMV 287618 ระวางแผนที่
4644 II ครอบคลุมเนื้อที่ 8,078 ไร่ |
 |
|
::
ลักษณะภูมิประเทศ
:: |
ลักษณะภูมิประเทศเป็นยอดเขา
และไหล่เขามีความสูงอยู่ระหว่าง 1,280-1,574 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ภูเขาสูงสลับหุบห้วย
จุดที่ตั้งสถานีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
จุดสูงสุด คือ ดอยอมแฮด ความสูง 1,574 เมตร แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
ห้วยอมแฮด ความลาดชันเฉลี่ยของพื้นที่อยู่ระหว่าง 18%-24%
การจำแนกประเภทสมรรถนะที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) เป็นประเภท ดิน Slope
Complex |
 |
|
:: ลักษณะภูมิอากาศ
:: |
เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาสูง
จึงมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี จากข้อมูลของสถานี ตรวจอากาศอำเภออมก๋อย ปี
2544 อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 21.05๐ C อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16.05๐ C
อุณหภูมิต่ำสุด 3.9๐ C ในเดือนมกราคม และเฉลี่ยสูงสุด 26.06๐ C
อุณหภูมิสูงสุด 36.6๐ C ในเดือนเมษายน ปริมาณน้ำฝนตลอดปี 870.1 มม./ปี
จำนวนวันที่ฝนตก (ในรอบ 1 ปี) 74 วัน |
 |
|
:: สภาพป่า
และลักษณะการใช้ประโยชน์พื้นที่ :: |
สภาพป่าในบริเวณสันเขา, ยอดเขายังคงสภาพเป็นป่าดิบเขา
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ในวงศ์ก่อ, ทะโล้, ไม้ไก๋บง, อบเชย ฯลฯ
บริเวณพื้นที่ไร่เก่าพรรณไม้ที่ปกคลุม ได้แก่ กูดดอย, สาบแล้ง , สาบกา
จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat TM-5
ถ่ายภาพระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2543 พบว่า
บริเวณที่สำรวจเป็นไร่เก่าหมุนเวียนผ่านการใช้ประโยชน์มาประมาณ 3-4 ปี
เนื้อที่ประมาณ 2.5 กิโลเมตร หรือ 1,562 ไร่ |
 |
|
:: แหล่งน้ำในพื้นที่
:: |
พื้นที่บริเวณดอยแบแล (ขุนห้วยสักกะหลัก) แห่งนี้
เป็นแหล่งต้นน้ำของห้วย อมแฮด ห้วยสักกะหลัก และห้วยกวาง
ซึ่งเป็นลำห้วยลำดับที่ 1 และ 2 สามารถพัฒนาแหล่งน้ำ ในลำห้วยอมแฮด
ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่สถานี และหมู่บ้าน
ขุนอมแฮดนอก |
 |
|
:: เส้นทางคมนาคม
:: |
บริเวณดอยแบแล
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภออมก๋อย สามารถเดินทางโดย
รถยนต์ไปตามเส้นทางอมก๋อยบ้านขุนอมแฮด ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร
ถึงหมู่บ้านแล้วต่อไปยังขุนห้วยสักกะหลัก ระยะทางประมาณ 4
กิโลเมตร |
 |
|
:: ชุมชนใกล้เคียง
:: |
ชุมชนใกล้เคียงพื้นที่บริเวณดอยแบแล ได้แก่ ชุมชน
ขุนอมแฮดหมู่ที่ 5 ตำบล สบโขง ประชากรบ้านขุนอมแฮด
หรือบ้านห้วยไคร้นุ่น แยกออกเป็นบ้านขุนอมแฮดใน จำนวน 53 ครอบครัว
และบ้าน ขุนอมแฮดนอก 39 ครอบครัว มีประชากร ทั้งหมด 588 คน แบ่งเป็น
ชาย 301 คน หญิง 287 คน ประชากร
ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยง (โปร์) นับถือศาสนาพุทธ 85%
ศาสนาคริสต์ 15% จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 92 ครัวเรือน |
:: วัตถุประสงค์ :: |

|
1. เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ
2. เพื่อทดลองสาธิตปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ทั้งพืชผัก
ไม้ดอก และไม้ผลเมืองหนาวให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อย
จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่ง จ้างงานให้กับราษฎร
ในหมู่บ้านใกล้เคียง
ตลอดจนเป็นศูนย์ฝึกการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
3. เพื่อสกัดกั้นการบุกรุกแผ้วถางป่าบริเวณดอยแบแล
โดยการจัดระเบียบชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงตลอดจนปรับปรุงระบบ
นิเวศป่าต้นน้ำ รวมทั้งอนุรักษ์กล้วยไม้
ในพื้นที่ให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์
ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วย จำนวน 7 สาย |
|
:: เป้าหมาย
:: |
1.
จัดระเบียบชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงตามแนวทางหมู่บ้านป่าไม้ แผนใหม่
จำนวน 2 หมู่บ้าน และออก สทก.พิเศษ เนื้อที่ 800 ไร่
2. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง
และพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน จำนวน 500
ไร่
3. ปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และอนุรักษ์แหล่งกล้วยไม้ในเนื้อที่
6,778 ไร |
:: ผลการดำเนินงาน
:: |
|
- สถานีพัฒนาการเกษตรบนพื้นที่สูง
การดำเนินการจัดตั้งสถานี
1. กิจกรรมอำนวยการ
งานโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 โดย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
- ก่อสร้างสำนักงานชั่วคราว จำนวน 1 หลัง
- สร้างที่พักกำลังพล จำนวน 2 หลัง
- จัดซื้อครุภัณฑ์ จำนวน 6 รายการ
- จัดสร้างห้องน้ำ จำนวน 4 ห้อง
1.2 โดย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง จังหวัดเชียงใหม่
- จัดสร้างโรงเรือนเพาะชำ จำนวน 4 หลัง
- จัดสร้างห้องน้ำ จำนวน 2 ห้อง
- จัดสร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่เกษตร จำนวน 2 หลัง
- จัดหาระบบน้ำเบื้องต้นเพื่อการใช้สอยในบริเวณสถานี
1.3 โดย หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่หาด
- สร้างฝายต้นน้ำ จำนวน 100 ฝาย

งานสำรวจจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
1.4 โดย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
- สำรวจจำแนกพื้นที่ป่า จำนวน 8,078 ไร่
จัดแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 3 เขต
1) เขตพื้นที่สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เนื้อที่ 500 ไร่
2) เขตพื้นที่ทำกินและอยู่อาศัย 2 หมู่บ้าน เนื้อที่ 800 ไร่
3) เขตพื้นที่ป่าเพื่ออำนวยประโยชน์ด้านการอนุรักษ์ดิน และน้ำ
เนื้อที่ 6,778 ไร่
- รังวัดวงรอบบริเวณสถานี จำนวน 500 ไร่
2. กิจกรรมอนุรักษ์ดิน และน้ำ
โดยสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
2.1 ปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุพร้อมจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
(ขุดคูรับน้ำขอบเขา, ปลูกหญ้าแฝก) เนื้อที่ 180 ไร่

3. กิจกรรมทดลองปลูกกัญชง
โดย สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์
3.1 ทำการการทดลองปลูกกัญชงในแปลงทดลอง จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่

4. กิจกรรมพัฒนาการเกษตรที่สูง
โดย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง
งานพัฒนาและวิชาการ
งานทดสอบและเทคโนโลยีไม้ผลเมืองหนาว เนื้อที่ 180 ไร่
- เปลี่ยนยอดพลับป่าพันธุ์ดี จำนวน 1,000 ต้น (40 ไร่)
- ดูแลรักษา พรวนดิน ใส่ปุ๋ยต้นตอ หมากเม่าป่า และมะเกี๋ยงป่า
- ปลูก Stock เต้าซื่อ จำนวน 1,076 ต้น (25 ไร่)
- ปลูกต้นหมากเม่า จำนวน 100 ต้น (3 ไร่)
- ปลูกไม้ผล 13 ชนิด (10 ไร่)
งานทดสอบเทคโนโลยีพืชสวนอุตสาหกรรม
- ปลูกกาแฟอาราบิก้า (Calimor) จำนวน 7,000 กล้า (20 ไร่)
- ปลูกชาจีนโดยวิธีหยอดเมล็ด จำนวน 1 ไร่
งานทดสอบและพัฒนาพืชผัก เนื้อที่ 2 ไร่
- ปลูกตะไคร้หอม จำนวน 2,000 ต้น
- ปลูกกุ้ยฉ่าย 4 สายพันธุ์ (พิจิตร, ฝาง, แพร่, ลำปาง) จำนวน 1,400
กล้า
- ปลูกผักชาโยเต้ จำนวน 448 ต้น
- ปลูกผักปูเลย์ยอด จำนวน 1,000 กล้า
- ปลูกดอกไม้จีนดอกเดี่ยว จำนวน 1,000 กล้า
- ปลูกบร๊อกโครี่ จำนวน 7,000 กล้า
- ปลูกคะน้าใบ จำนวน 2,000 กล้า
- ปลูกมันฝรั่ง Gf จำนวน 500 กก.
- ปลูกผักกาดหางหงษ์ จำนวน 500 กล้า


- พื้นที่หมู่บ้านขุนอมแฮดนอก-ใน
1. งานจัดระเบียบชุมชน
โดย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
1.1 กิจกรรมสำรวจรังวัดจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน
- สำรวจรังวัดวงรอบหมู่บ้านขุนอมแฮดนอก - ใน 800 ไร่
โดย กรมส่งเสริมการเกษตร
1.2 จดทะเบียนเกษตรกรชาวเขา บ้านขุนอมแฮด
เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและแก้ไขปัญหาในการพัฒนาต่อไป
โดย สำนักงานเกษตรอำเภออมก๋อย
1.3 สร้างและปรับปรุงฉางข้าวเพื่อจัดเป็นธนาคารในหมู่บ้าน จำนวน 2
หย่อมบ้าน ดังนี้
- ฉางข้าวขนาด 5 ตัน บ้านขุนอมแฮดนอก (สร้างใหม่)
- ฉางข้าวขนาด 10 ตัน บ้านขุนอมแฮดใน (ปรับปรุง)
- จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว
เพื่อเป็นต้นเมล็ดพันธุ์ข้าวในฉางข้าวเพิ่มเติมตามจำนวนบรรจุฉางข้าว
- จัดให้มีคณะกรรมการในการบริหารฉางข้าวทั้ง 2 ฉาง
โดย ชุดปฏิบัติการ มทบ.33
1.4 งานประสาน และคุ้มครองชุมชน
- ประชาสัมพันธ์, สร้างจิตสำนึกให้กับราษฎร 2 หมู่บ้าน
2. งานพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
2.1 เพิ่มผลผลิตข้าวนาในหมู่บ้านโดยการส่งเสริมใช้ปุ๋ยชีวภาพ
และมีการประกวดผลผลิต และส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา เช่น
ข้าวโพดหวาน-ถั่วแดงหลวง สร้างรายได้แก่เกษตร
2.2 ส่งเสริมการปลูกพืชอาหาร ในลักษณะพืชผักสวนครัว และไม้ผล
หลังบ้าน
2.3 จัดอบรมความรู้แก่ราษฎรบ้านขุนอมแฮดนอก-ใน จำนวน 2 รุ่น/
หย่อมบ้าน
2.4
จัดให้มีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีของหน่วยราชการกระทรวงเกษตรเพื่อบริหารประชาชนด้านความรู้และจุดนัดพบเวลาทำงาน
โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
บ้านขุนอมแฮดใน
2.5 สนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมือง จำนวน 50 ตัว อาหาร 60 ถุง/1,080 กก.
ให้กับโรงเรียน ศศช. บ้านขุนอมแฮดใน
2.6 สนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศให้กับราษฎร 58 ครอบครัว ๆ ละ 6 ตัว
(ตัวผู้ 1 ตัว เมีย 5 ตัว) รวม 348 ตัว พร้อมอาหาร 3,480 กก.
(ครอบครัวละ 60 กิโลกรัม)
2.7 จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงสุกรเหมยซาน จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 33 ตัว
(ตัวผู้ 1 ตัว เมีย 10 ตัว) พร้อมอาหาร 990 กิโลกรัม (กลุ่มละ 330
กิโลกรัม)
2.8 อบรมการเลี้ยงสัตว์จำนวน 1 รุ่น / 58 คน
บ้านขุนอมแฮดนอก
2.9 สนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมือง จำนวน 50 ตัว อาหาร 60 ถุง/1,080 กก.
ให้กับโรงเรียน ศศช. บ้านขุนอมแฮดนอก
2.10 สนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมืองให้กับราษฎร จำนวน 234 ตัว /39
ครอบครัว (ครอบครัวละ 6 ตัว) พร้อมอาหาร 2,340 กิโลกรัม ครอบครัวละ
60 กิโลกรัม
2.11 สนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศให้กับราษฎร จำนวน 195 ตัว/39 ครอบครัว
(ครอบครัวละ 5 ตัว) พร้อมอาหาร ครอบครัวละ 2 กิโลกรัม
2.12 จัดตั้งกลุ่มเลี้ยงหมู 2 กลุ่ม ๆ ละ 11 ตัว พร้อมอาหาร 660
กิโลกรัม
2.13 อบรมการเลี้ยงสัตว์จำนวน 1 รุ่น / 39 คน |
|
:: การดำเนินงานในระยะต่อไป
:: |
งานจัดตั้งสถานี
1. โดย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
- ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ จำนวน 1,500 ไร่
- จัดสร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน จำนวน 300 ฝาย
2. โดย สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
- จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแบบคันคูรับน้ำขอบเขาในพื้นที่สถานี
จำนวน 300 ไร่

- ปลูกหญ้าแฝก ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน จำนวน 300 ไร่

- ผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพ เพื่อใช้ในสถานี จำนวน 20 ตัน/ปี


3. โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
(ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่)
- ทดสอบเทคโนโลยีไม้ผลเมืองหนาว จำนวน 180 ไร่
- ทดสอบเทคโนโลยีพืชสวนอุตสาหกรรม จำนวน 20 ไร่
- ทดสอบเทคโนโลยีผักบนพื้นที่สูง จำนวน 5 ไร่
- สาธิตการตลาดผักบนพื้นที่สูงและพืชสวนอุตสาหกรรม


- ทดสอบการแปรรูปผลผลิตพืชสวนอุตสาหกรรม
4. โดย สำนักงานชลประทานจังหวัดเชียงใหม่
- สร้างฝายทดน้ำในลำห้วยอมแฮด จำนวน 2 ฝาย
- สร้างท่อส่งน้ำจากฝายทั้ง 2 รวมระยะทางประมาณ 4,000 เมตร
- สร้างบ่อพักน้ำ จำนวน 4 บ่อ
- สร้างระบบประปาหมู่บ้าน 1 ระบบ |
:: งานจัดระเบียบชุมชน
:: |
1. โดย สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
- ตรวจสอบการถือครองทำกินราษฎร จำนวน 92 ครัวเรือน
- รังวัดแบ่งแปลงพื้นที่ทำกิน จำนวน 92 แปลง ๆ ละ 8 ไร่
- พิจารณาให้สิทธิทำกินพิเศษ ราษฎร 92 ครัวเรือน ๆ ละ 8 ไร่
- ปลูกป่าไม้ใช้สอย (ป่าฟืน) จำนวน 200 ไร่
- ร่วมกับราษฎรบ้านขุนอมแฮดนอก-ใน
พิจารณาแผนการจัดการทรัพยากรของชุมชนทั้ง 2 หย่อมบ้าน
2. โดย สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
- จัดสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และปลูกหญ้าแฝก จำนวน 800 ไร่
- ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพให้กับราษฎร จำนวน 92 ครัวเรือน
3. โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
- ส่งเสริมไม้ผลหลังบ้าน และพืชผักสวนครัวให้กับราษฎร จำนวน 92
ครัวเรือน
- เพิ่มผลผลิตข้าวนาดำให้กับราษฎรให้ได้ 50 ถัง/ไร่
4. โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
- ดูแลสุขภาพสัตว์ และเฝ้าระวังการระบาดโรคติดต่อในสัตว์ จำนวน 92
ครัวเรือน
5. โดย สถานีพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
- สำรวจรวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำและเพิ่มประชากรสัตว์น้ำในลำห้วย จำนวน
100,000 ตัว

6. โดย มณฑลทหารบก 33
- ปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์

|
:: งบประมาณการดำเนินงาน :: |
- แผนงานอำนวยการและบริหารโครงการ
- แผนงานปลูกและฟื้นฟูป่า
- แผนงานจัดระเบียบชุมชน
โดยสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก
สำนักงาน กปร. และอยู่ระหว่างการพิจารณา |
|
Back to top |