8.1
ฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน
ฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดักตะกอน
เศษวัสดุต่าง ๆ
ที่ไหลมากับน้ำและช่วยลดความเร็วหรือชะลอการไหลของน้ำ
ซึ่งในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน
ลำห้วยควรมีความกว้างประมาณ 3 5 เมตร ลึกประมาณ 0.50 1.00
เมตร มีรูปแบบต่างๆ พอสรุปได้ 6 ชนิดดังนี้
8.1.1 ฝายผสมผสานแบบคอกหมู
ฝายผสมผสานแบบคอกหมู
เป็นฝายที่ใช้ไม้หลักเป็นแกนยึดตีเป็นกรอบล้อมรอบ
ภายในบรรจุวัสดุต่างๆ เช่น กระสอบฟางบรรจุดินวางทับ
กระสอบฟางบรรจุทรายและปูนซีเมนต์ อัตราส่วน 1 : 10
หรือใช้หินเรียงด้านในคอกหมู เป็นต้น
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราสามารถจะหาได้ในท้องถิ่น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ไม้ท่อนขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาวประมาณ 1
1.20 เมตร
- ไม้ท่อนขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 - 6 นิ้ว
ความยาวขึ้นอยู่กับความกว้างของลำห้วย
- กระสอบฟางบรรจุดินหรือบรรจุทรายกับปูนซีเมนต์ อัตราส่วน
1:10 หรือหิน
- ตะปู ขนาด 5 6 นิ้ว
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจและคัดเลือกพื้นที่
- ปรับพื้นที่ขุดลอกดินพื้นห้วยออกให้ลึกประมาณ 0.51.00
เมตร
ตลอดแนวสร้างโดยให้ขุดเข้าไปข้างฝั่งลำห้วยด้านละ0.501.00
เมตร
- วางไม้ท่อนขวางลำห้วยตามแนวที่ขุด
- ตอกหลักไม้ท่อนให้แน่น ลึกประมาณ 0.30 เมตร
- ใช้ไม้วางคอกหมู ตอกตะปูให้ยึดติดกัน
-
วางกระสอบฟางบรรจุดินหรือกระสอบฟางบรรจุทรายกับปูนซีเมนต์อัตราส่วน
1 : 10 หรือวางหินเรียงในช่องว่างของคอกหมู
-
ใช้ไม้ท่อนตีทับหลังตัวฝายหากจะให้แข็งแรงก็ใช้ไม้ค้ำยันด้านหลังตัวฝาย
ฝายผสมผสานแบบคอกหมู
8.1.2 ฝายผสมผสานแบบไม้ไผ่
ฝายผสมผสานแบบไม้ไผ่
เป็นฝายที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีไม้ไผ่จำนวนมาก
โดยใช้ลำไม้ไผ่เป็นแกนยึดและทำเป็นกรอบ
ภายในบรรจุดินและตอกหลักด้วยไม้ไผ่ในการยึดดินเพื่อความแข็งแรง
ด้านหลังของฝายเรียงด้วยหินใหญ่ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ First
Order Stream
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ไม้ไผ่ลำขนาด 1 1.5 นิ้ว ขนาดความยาว 1 1.50 เมตร
- ไม้ไผ่ลำขนาด 3 4 นิ้ว
ความยาวขึ้นอยู่กับความกว้างของลำห้วย
- ไม้ไผ่ฟาก ยาวประมาณ 1 เมตร
- หินใหญ่
- ดิน
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจและคัดเลือกพื้นที่
- ปรับพื้นที่ ขุดลอกดินก้นห้วยออกให้ลึกประมาณ 0.50 1.00
เมตรและกว้างประมาณ 1.00
เมตรตลอดแนวก่อสร้างโดยให้ขุดดินเข้าไปข้างลำห้วยด้านละประมาณ
0.50 1.00 เมตร
- วางไม้ไผ่ขวางลำห้วย ซึ่งเจาะรูที่หัวและระหว่างข้อ
ระยะห่างประมาณ 0.80 1.00 เมตร (ขึ้นอยู่กับความกว้างลำห้วย)
- วางไม้ไผ่ ซึ่งเจาะรูที่หัวและท้ายปลายโผล่ประมาณ 20
เซนติเมตรวางตามยาวลำห้วย
โดยให้รูของไม้ไผ่ที่วางลำห้วยและที่วางขวางตามยาวลำห้วยตรงกัน
แล้วใช้ไม้ไผ่ขนาด 1 1.50 นิ้ว ตอกยึดให้ลึกลงในดินประมาณ
0.30- 0.50 เมตร แล้วเอาไม้ไผ่ที่เจาะรูตามขนาด
ซึ่งเตรียมไว้ใส่สลับไขว้กันจนได้ระดับที่ต้องการ
-
ใช้ไม้ไผ่ฟากวางกั้นด้านในของไม้ไผ่ที่วางขวางลำห้วยทั้งด้านหน้าฝายและหลัง
-
ขนดินใส่ระหว่างช่องว่างของไม้ไผ่ฟากทั้งสองด้านเมื่อได้ระยะ
ความสูงประมาณ 0.50 เมตร ใช้ไม้ไผ่หลักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1
1.50 นิ้ว ตอกลงไปยึดดินให้ดูระยะห่างตามความเหมาะสม
แล้วใส่ดินให้เต็มตัวฝายเสร็จแล้วใช้ไม้ไผ่หลักตอกลงไปอีกเพื่อยึดดินให้แน่นและแข็งแรง
- เอาหินเรียงบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของฝาย
ฝายต้นน้ำธารผสมผสานแบบไม้ไผ่
8.1.3 ฝายผสมผสานแบบกระสอบ
ฝายผสมผสานแบบกระสอบเหมาะสำหรับลำห้วยที่มีความลาดชันน้อย
มีปริมาณน้ำไหลไม่มากและลำห้วยมีขนาดไม่กว้างมาก
บริเวณที่เรียกว่า First Order Stream
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- กระสอบฟาง
- ดินหรือทรายผสมซีเมนต์ อัตราส่วน 1 : 10
- ไม้หลักท่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว หรือไม้ไผ่ขนาด
1.50 นิ้ว ยาวประมาณ 1.00 1.50 เมตร
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจและคัดเลือกพื้นที่
- ปรับพื้นที่ ขุดลอกดินก้นห้วยออกให้ลึกประมาณ 0.5 เมตร
กว้างประมาณ 1.00 เมตร
- วางกระสอบดินหรือทรายผสมซีเมนต์ซ้อนทับประมาณ 3 หรือ 4 แถว
- ใช้ไม้หลักท่อนหรือไม้ไผ่กลมตอกลงบนกระสอบ
เพื่อยึดกระสอบให้แข็งแรง
แล้ววางกระสอบซ้อนทับอีกให้ได้ระดับที่ต้องการ
และเอาไม้ท่อนหรือไม้ไผ่กลมตอกลงบนกระสอบ เพื่อยึดให้แน่น
ซึ่งระยะห่างของหลักให้ดูตามความเหมาะสม
ฝายผสมผสานแบบกระสอบ
8.1.4 ฝายผสมผสานแบบตาข่าย (GABION)่
ฝายผสมผสานแบบตาข่าย แบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. ฝายผสมผสานแบบตาข่ายแบบที่ 1 เทคอนกรีตทับหลัง
วิธีการก่อสร้าง
ปรับพื้นที่ให้แน่นและเรียบ โดยใช้หินรองพื้นกว้างประมาณ 80
100 ซม. วางตาข่ายอะลูมิเนียมซึ่งผูกมัดกับโครงเหล็กเส้น
แล้วเททับด้วยคอนกรีตหนาประมาณ 10 ซม.
จากนั้นใช้หินใหญ่วางสลับให้เต็มโครงตาข่าย ขนาดกว้าง 50 ซม. สูง
30 ซม. ความยาวตามความกว้างของตัวฝาย
(โดยเจาะลึกไปในผนังของลำห้วยทั้งสองด้าน ด้านละ 50 100 ซม.)
แล้วใช้หินใหญ่วางสลับทับอีกชั้นหนึ่ง จนเต็มเสมอขอบตาข่าย
ใช้เหล็กเส้นยึดเป็นช่วงๆ แล้วใช้คอนกรีตเททับอีกชั้นหนึ่ง
หนาประมาณ 10 ซม.
เพื่อยึดหินและตาข่ายให้แข็งแรงและใช้เป็นสันฝายเสร็จแล้วใช้หินใหญ่วางทั้งด้านหน้าและหลังของตัวฝาย
สูงประมาณ 30 50 ซม. เพื่อเสริมความแข็งแรง
หรืออาจใช้ไม้ไผ่ตอกเป็นเสาเข็มป้องกันหินลื่นไหล
ก็จะช่วยให้ตัวฝายมีความคงทนมากยิ่งขึ้น
กรณีที่ต้องการกักเก็บน้ำด้วย
ให้ใช้กระสอบฝางบรรจุทรายผสมซีเมนต์ ในอัตราส่วน 8 : 2
วางทับด้านหน้าฝาย
ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาตรความจุน้ำได้ตามขนาดความสูงของกระสอบ
ตารางที่ 1 งบประมาณในการก่อสร้างฝาย Gabion แบบที่ 1
ลำดับที่
|
รายการ
|
จำนวน
|
หน่วย
|
ราคา / หน่วย
|
จำนวนเงิน
|
หมายเหตุ
|
บาท
|
สต.
|
บาท
|
สต.
|
1
|
ตาข่ายอะลูมิเนียม
|
5
|
เมตร
|
116
|
-
|
830
|
-
|
|
2
|
เหล็กเส้น 3 หุน
|
2
|
เส้น
|
110
|
-
|
220
|
-
|
|
3
|
เหล็กเส้น 2 หุน
|
1
|
เส้น
|
80
|
-
|
80
|
-
|
|
4
|
ลวดผูกเหล็ก
|
1
|
กก.
|
15
|
-
|
15
|
-
|
|
5
|
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
ปูนซีเมนต์ตราเสือ
|
5
5
|
ถุง
ถุง
|
125
110
|
-
-
|
625
550
|
-
-
|
|
6
|
ทรายหยาบ
|
2
|
ลบ.ม.
|
200
|
-
|
400
|
-
|
|
7
|
หินเล็ก (เบอร์ 3 4 )
|
1
|
ลบ.ม.
|
600
|
-
|
600
|
-
|
|
8
|
หินใหญ่
หินเรียงหน้าและหลัง
|
3
4
|
ลบ.ม.
ลบ.ม.
|
|
-
-
|
|
-
-
|
ไม่รวมค่าหิน 3-5
ลบ.ม. ซึ่งสามารถเก็บ หาได้ในพื้นที่
|
9
|
แรงงาน
|
20
|
แรง
|
110
|
-
|
2,200
|
-
|
|
10
|
กระสอบฟาง
|
50
|
ใบ
|
2
|
-
|
100
|
-
|
|
|
รวมเงิน
|
|
|
|
|
5,660
|
|
|
2. ฝายผสมผสานแบบตาข่ายแบบที่ 2 ไม่เทคอนกรีตทับหลัง
วิธีการก่อสร้าง
รูปแบบและการใช้วัสดุก่อสร้างแบบเดียวกับแบบที่ 1
แตกต่างกันเฉพาะ ใช้ตาข่ายผูกยึดปิดด้านบนตัวฝายเพียงอย่างเดียว
โดยไม่ใช้คอนกรีตเททับตรงส่วนกลางและด้านบน
ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการก่อสร้างในพื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำ
ทั้งในพื้นที่ชุ่มน้ำและห้วยแห้ง
ตารางที่ 2 งบประมาณในการก่อสร้างฝาย Gabion แบบที่ 2
ลำดับที่
|
รายการ
|
จำนวน
|
หน่วย
|
ราคา / หน่วย
|
จำนวนเงิน
|
หมายเหตุ
|
บาท
|
สต.
|
บาท
|
สต.
|
1
|
ตาข่ายอะลูมิเนียม
|
5
|
เมตร
|
231
|
-
|
1,155
|
-
|
ไม่รวมค่าหิน 3-5
ลบ.ม. ซึ่งสามารถเก็บ หาได้ในพื้นที่
|
2
|
ปูนซีเมนต์
|
3
|
กส.
|
120
|
-
|
360
|
-
|
3
|
ทราย + หิน
|
1
|
ลบ.ม.
|
250
|
-
|
250
|
-
|
4
|
หินใหญ่
|
3-5
|
ลบ.ม.
|
-
|
-
|
-
|
-
|
5
|
ค่าแรง
|
12
|
แรง
|
120
|
-
|
1,440
|
-
|
|
รวมเงิน
|
|
|
|
|
3,205
|
|
3. ฝายผสมผสานแบบตาข่ายแบบที่ 3 ไม่เทฐานและทับหลัง
วิธีการก่อสร้าง
เตรียมพื้นฐานให้แน่นและเรียบ เช่นเดียวกับแบบที่ 1 และ 2
วางตาข่ายอะลูมิเนียม ขนาดกว้าง 50 ซม. สูง 70 ซม.
ยาวตามความกว้างของลำห้วย แล้วเรียงหินใหญ่-เล็กให้เต็ม
ปิดด้านบนด้วยตาข่ายอะลูมิเนียมอีกครั้งหนึ่ง (
ไม่ต้องเทซีเมนต์ทับด้านฐานและด้านบน เช่นแบบที่ 1-2 )
จากนั้นเรียงหินทั้งด้านหน้า หลังฝาย ความสูงประมาณ 50 ซม.
เพื่อเพิ่มความคงทน
และแข็งแรงและอาจใช้ไม้ไผ่ตอกเป็นเสาเข็มเสริมอีกชั้นหนึ่งก็ได้
และ ถ้าต้องการกักเก็บน้ำก็ให้ใช้กระสอบฟางบรรจุทรายผสมซีเมนต์
อัตราส่วน 8 : 2 วางทับด้านหน้าฝายอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ตามขนาดความสูงของกระสอบทราย
ตารางที่ 3 งบประมาณในการก่อสร้างฝาย Gabion แบบที่ 3
ลำดับที่
|
รายการ
|
จำนวน
|
หน่วย
|
ราคา / หน่วย
|
จำนวนเงิน
|
หมายเหตุ
|
บาท
|
สต.
|
บาท
|
สต.
|
1
|
ตาข่ายอะลูมิเนียม
|
5
|
เมตร
|
166
|
-
|
830
|
-
|
ไม่รวมค่าหิน 3-5
ลบ.ม. ซึ่งสามารถเก็บ หาได้ในพื้นที่
|
2
|
เหล็กเส้นขนาด 2 หุน
|
3
|
เส้น
|
80
|
-
|
80
|
-
|
3
|
ค่าแรง 4 คน
|
1
|
แรง
|
120
|
-
|
1,440
|
-
|
4
|
หินใหญ่
|
3-5
|
ลบ.ม.
|
-
|
-
|
-
|
-
|
5
|
กระสอบฟาง
|
12
|
ใบ
|
2
|
50
|
100
|
-
|
|
รวมเงิน
|
|
|
|
|
2,450
|
|
8.1.5 ฝายผสมผสานแบบหินทิ้ง
ฝายผสมผสานแบบหินทิ้งเหมาะสำหรับพื้นที่หรือลำห้วยที่มีหินจำนวนมาก
ความลาดชันน้อย ปริมาณการไหลของน้ำในลำห้วยไม่มาก
บริเวณส่วนที่เรียกว่า First Order Stream
ซึ่งสามารถจะทำได้ทั้งฝายหินทิ้งธรรมดาและฝายหินทิ้งมีคอนกรีตยาแนวช่องว่างระหว่างหิน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ไม้ท่อนเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วยาวประมาณ 1 1.20 เมตร
- ไม้ท่อนเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 4 นิ้ว
ความยาวขึ้นอยู่กับความกว้างของลำห้วย จำนวน 4 ท่อน
หรือเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร
- ปูนซีเมนต์และทราย
(กรณีใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายยาแนวระหว่างก้อนหิน)
จำนวนขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของลำห้วย
- ตะปูขนาด 5 นิ้ว
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจคัดเลือกพื้นที่
- ปรับพื้นที่ขุดลอกดินก้นห้วยออกให้ลึกประมาณ 0.50 เมตร
กว้างประมาณ 1.00 เมตร
- ตอกหลักไม้ท่อนให้แน่นตามแนวขวางลำห้วย ระยะห่างประมาณ 1
เมตร
- นำไม้ท่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 4 นิ้ว มาวางนอนขวาง
ตีตะปูยึดกับหลักไม้ท่อน ระยะห่างประมาณ 0.30 เซนติเมตร
- นำหินมาเรียงกันด้านหน้าและหลังของไม้ท่อน
โดยมีไม้ท่อนเป็นแกนยึด
- สำหรับในกรณีที่บริเวณลำห้วยเป็นหิน
ไม่สามารถตอกหลักเป็นท่อนได้ ให้ใช้ก้อนหินมาเรียงเป็นชั้น
แล้วใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายยาแนวระหว่างก้อนหินทั้งสองด้าน
 |
 |
ฝายต้นน้ำผสมผสานแบบหินทิ้ง
|
ฝายต้นน้ำผสมผสานแบบหินทิ้งปูนซีเมนต์ยาแนว
|
8.1.6 ฝายผสมผสานแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
ฝายผสมผสานแบบภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นฝายที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในภาคเหนือ
ใช้กั้นลำห้วย ลำธาร หรือแม่น้ำ
เพื่อทดน้ำเข้าลำเหมืองไปใช้ในการทำนา ซึ่งมีการร่วมมือร่วมแรง
ร่วมใจกัน ทำมาเป็นระยะเวลานานหลายร้อยปีแล้ว มีความคงทนแข็งแรง
แต่ต้องมีการซ่อมแซมและบำรุงรักษากันทุก ๆ ปี
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ไม้ท่อนหรือไม้ไผ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 6 นิ้ว
- ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 4 นิ้ว
- ทราย หิน กิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจคัดเลือกพื้นที่
- ตอกหลักไม้ท่อนหรือไม้ไผ่ขวางลำห้วยหรือแม่น้ำเป็นแถวยาวระยะห่างประมาณ
30 เซนติเมตร และตามยาวลำน้ำหรือลำห้วยระยะห่างประมาณ 15 20
เซนติเมตร ยาวประมาณ 3.00 4.00 เมตร
- ใช้ไม้ไผ่ผ่าครึ่งนำมาวางด้านหน้าหลักไม้ท่อนที่ตอกลงไปตั้งแต่ด้านหลังของตัวฝายขึ้นไปเรื่อยถึงหน้าฝาย
- นำเศษไม้ ใบไม้ ทราย หรือ วัสดุที่หาได้รอบบริเวณนั้น
มาใส่ตามช่องระหว่างไม้ไผ่ผ่าตั้งแต่หลังฝายถึงหน้าฝาย
ฝายผสมผสานแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
Back to top
8.2
ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร
ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวรเป็นฝายชนิดหินก่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
เป็นฝายที่มีความมั่นคงแข็งแรงพอสมควร
ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณ Second Order Stream หรือ Third
Order Stream ของลำห้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อลดความรุนแรงหรือชะลอการไหลของน้ำ
- เพื่อช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำ
- เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สองฝั่งลำห้วยบนพื้นที่ต้นน้ำ
- เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
- ปูนซีเมนต์ผสม
- หิน ทราย หินใหญ่
- - เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 12 มิลลิเมตร
- เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 มิลลิเมตร
- เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มิลลิเมตร
- ลวดผูกเหล็ก
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจจุดก่อสร้าง วัดความกว้างของลำห้วย
- ปรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างตามแนวขวางลำห้วย เปิดหน้าดิน
- ขุดฐานรากให้ลึกถึงระดับดินแข็งหรือชั้นหินลึกประมาณ 0.70
1.00 เมตร
- ผูกเหล็กวางฐานราก เทคอนกรีตอัตราส่วน 1 : 2 : 4 (ปอร์ตแลนด์)
ตามแบบ
- ตั้งเหล็กแกนกลาง ผูกเหล็กตามแบบ
- ก่อหินเรียงเป็นแบบด้านหน้าและหลัง
มีเหล็กเป็นแกนกลางโดยใช้ ปูนซีเมนต์ผสม
- เทคอนกรีตลงในแกนเหล็กระหว่างช่องว่างของหินก่อเรียง 1: 2:
4 (ปอร์ตแลนด์)
ฝายต้นน้ำลำธารแบบกึ่งถาวร
Back to top
8.3
ฝายต้นน้ำลำธารแบบถาวร
ฝายต้นน้ำลำธารแบบถาวร เป็นฝายชนิดคอนกรีตเสริมเหล็ก
มีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างในตอนปลายของลำห้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อลดความรุนแรงหรือชะลอการไหลของน้ำในลำห้วย
- เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่สองฝั่งลำห้วยบนพื้นที่ต้นน้ำ
- เพื่อช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยลำธารบนพื้นที่ต้นน้ำ
- เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในด้านการอุปโภคบริโภคแก่ชุมชนและสัตว์ป่าตลอดจนการทำการเกษตรกรรมและปศุสัตว์บางส่วนบนพื้นที่ต้นน้ำ
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
- หิน ทราย
- - เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มิลลิเมตร
- เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร
- เหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร
- ไม้แบบก่อสร้าง , ตะปู 2 นิ้ว , ตะปู 3 นิ้ว , ตะปู 4 นิ้ว
- ท่อ PVC เส้นฝ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว และวาวล์ขนาด 4 นิ้ว
วิธีการก่อสร้าง
- สำรวจจุดก่อสร้าง วัดขนาดความกว้างของลำห้วย
- วัดระดับสันเขื่อน ระดับระบายน้ำ
- ขุดฐานรากให้ลึกจนถึงระดับดินหรือชั้นหิน ประมาณ 0.70
1.00 เมตร
- ผูกเหล็กวางตอม่อเทคอนกรีตอัตราส่วน 1: 2 : 4
- ผูกเหล็กวางฐานรากของตัวฝาย วางแบบ เทคอนกรีตอัตราส่วน 1:
2 : 4
- วางท่อ PVC เพื่อใช้ระบายน้ำและทราย
- ผูกเหล็ก ตั้งเสา วางโครงเหล็กตามแบบแปลน
- ตั้งไม้แบบ
- เทคอนกรีต อัตราส่วน 1: 2 : 4
- ถอดแบบ
- เก็บงาน
ฝายต้นน้ำลำธารแบบถาวร
Back to top
|