 |
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง |
ประวัติความเป็นมา
เดิมพื้นที่น้ำตกห้วยยาง มีสภาพธรรมชาติสวยงามเหมาะเป็นแหล่งที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและเป็นแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ อันได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ดังนั้นบริเวณดังกล่าว จึงได้รับการจัดตั้งเป็นเขตวนอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ต่อมาจากการสำรวจของสำนักงานป่าไม้ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทับสะแก มีน้ำตกที่สวยงามอีก 2 แห่ง ได้แก่ น้ำตกขาอ่อน(ทับมอญ)และน้ำตกหินดาด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับน้ำตกห้วยยาง ซึ่งมีความเหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้ นอกจากนี้ จากการสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงยังพบป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง(หาดวนกร) ซึ่งเป็นพื้นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะมีสภาพป่าไม้ที่สมบูรณ์ จึงเห็นควรผนวกป่าวังด้วนกับป่าห้วยยาง(หาดวนกร)เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดดังกล่าวขั้นต้นให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ดังนั้น กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติ (เดิม) จึงได้พิจารณาให้ผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน น้ำตกหินดาด และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยยาง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง แต่ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกันกับส่วนอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการรักษาและควบคุม จึงให้แยกพื้นที่ทั้งหมด 2 พื้นที่ คือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง อุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้ และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง จึงได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 เป็นอุทยานลำดับที่ 70 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ 161 ตร.กม. หรือ 100,625 ไร่ |
แหล่งท่องเที่ยวและจุดที่น่าสนใจ
 
น้ำตกห้วยยาง
น้ำตกห้วยยาง มีทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกชั้นล่าง ๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ธารน้ำไหลมาตาม
โขดหินสูงตั้งแต่ 2–5 เมตร บริเวณน้ำตกชั้นที่ 5 จะมองเห็นสายน้ำตกจากผาสูงประมาณ 15 เมตร
งดงามมากแต่ต้องปีนและไต่โขดหินขึ้นไป จึงเป็นอันตรายในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก บริเวณชั้น 4 ยังมี
ทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมากสามารถมองเห็นทัศนียภาพ ไปได้ไกลถึงชายทะเล นอกจากนี้ชั้น 3และชั้น 5 เป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับการลงเล่นน้ำ และชั้น 7 ยังเป็นแหล่งน้ำที่บริสุทธิ์เพราะเป็นแหล่งน้ำที่เกิดมาจากป่าโบราณบนยอดเขาหลวงที่ยังไม่มีการบุกรุกทำลาย |
น้ำตกเขาล้าน
น้ำตกเขาล้าน เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของอุทยานฯ มีน้ำตกที่สวยงามที่ไหลลดหลั่น
จากชั้นหน้าผาลงมาผ่านลานหินกว้างอันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้ มีทั้งหมด 7 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำ
การอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางไปทางทิศใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร จากทางหลวงหมายเลข 4 จะพบ
ทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแกจากทางเข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ จากนั้นเดินเลียบลำธารไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก ซึ่งระหว่างทางจะมีน้ำตกเล็กๆ ที่สามารถลงเล่นน้ำได้ หรือหากเลือกเดินต่อไปจนถึงสันเขา ก็จะมองเห็นน้ำตกเขาล้านไหลตกลงมาจากผาสูงกว่า 50 เมตร เหนือหน้าผาที่เห็นคือบริเวณน้ำตกชั้นบนสุด สายน้ำไหลจากลานหินกว้างสูงประมาณ 10 เมตร ก่อนจะไหลลงหน้าผา แอ่งน้ำตกชั้นบนสุดสามารถลงเล่นน้ำได้ |
น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ)
น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ) มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้น
น้ำตก 9 ชั้น จะมีธารน้ำตกสูงประมาณ 2–5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมี
ความสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ใกล้ชายแดนพม่าในท้องที่อำเภอบางสะพาน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ
น้ำตกห้วยยางไปทางทิศใต้ประมาณ 60 กิโลเมตร สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทาง
หนองหอย – บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง – บ้านหนองบอน |
น้ำตกหินดาด
มีขนาดลำธารตอน
ล่างกว้างประมาณ
6 เมตร ประกอบ
ด้วยชั้นน้ำตก 5 ชั้น
ในแต่ละชั้นอยู่
ใกล้ ๆกัน เพราะเป็น
น้ำตกที่อยู่ใน
ซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชันสายน้ำตกจึง
แรงชั้นน้ำตกมีความสูง
ประมาณ 2–
5 เมตร อยู่ห่างจากที่ ทำการอุทยาน
แห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ไปทางทิศใต้
ประมาณ 50 กิโลเมตร
สามารถเดิน
ทางตามถนนเพชรเกษม
เส้นทางบ้าน
อ่างทอง–บ้านหนองมะค่า
|
น้ำตกบัวสวรรค์ มีชั้นน้ำตกที่สวยงามอยู่ 6 ชั้น ท่ามกลางสภาพธรรมชาติโดย รอบที่
เขียวชอุ่มดูสวยงามแปลกตา อันเป็นเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน แห่งชาติไปทางทิศ
เหนือประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมเส้นทางบ้านสองกะลอน
|
ยอดเขาหลวง ยอดสูงเทียมเมฆที่ระดับ 1,251 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากจะเป็น
จุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางแล้ว ยังเป็นต้นน้ำของน้ำตกห้วยยางด้วย บนยอดเขาปกคลุม
ด้วยป่าดิบเขา อากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่มีมอสขึ้นปกคลุมลำต้น พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าซึ่งจะ
มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝน จากบริเวณทุ่งกระเจียวจะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็น
แนวพรมแดนประเทศไทยกับพม่า เป็นที่อยู่อาศัยของปูเจ้าฟ้า อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตก
ห้วยยางประมาณ 7 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5 ชั่วโมง
 
|
จุดชมวิว อยู่ทางด้านหลังศูนย์บริการเดินขึ้นไปบนเขาเป็นระยะทาง 250 เมตร สามารถชมเรือนยอดของต้นไม้และ แนวชายฝั่งทะเลของอำเภอทับสะแก และชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า
 
|
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ประกาศเก็บค่าธรรมเนียมตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543
เริ่มเก็บวันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ในปัจจุบันได้จัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆดังนี้ |
ลำดับที่ |
รายการ |
อัตราค่าธรรมเนียม |
1 |
ค่าธรรมเนียมบุคคลธรรมดา
เด็ก นิสิต นักศึกษา
ผู้ใหญ่
ชาวต่างชาติ(เด็ก)
ชาวต่างชาติ(ผู้ใหญ่) |
10 บาท
20 บาท
50 บาท
100 บาท
|
2 |
ค่าธรรมเนียมยานพาหนะ
รถจักรยาน
รถจักรยานยนต์
รถเก๋ง , รถบิ๊กอัพ , รถตู้ , SUV
รถโดยสารขนาดไม่เกิน 24 ที่นั่ง
รถโดยสารขนาดมากกว่า 24 ที่นั่ง |
10 บาท
20 บาท
30 บาท
100 บาท
200 บาท |
3 |
ค่าธรรมเนียมอำนวยความสะดวก
อำนวยความสะดวกสถานที่กางเต็นท์ คน/คืน |
30 บาท |
|
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น |
เส้นทางคมนาคม
จากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามถนนเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4
ถึงหลักกิโลเมตรที่ 350 แล้วกลับรถเข้าสู่ ถนนสายน้ำตกห้วยยาง – เพชรเกษม ระยะทางประมาณ 5.6
กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
|
รายละเอียดเพิ่มเติม...จองบ้านพัก(คลิก)