ป้ายในอุทยานแห่งชาติ
line.gif (2998 bytes)

 

     ป้ายถือเป็นสื่อหรือตัวกลางประเภทหนึ่งในการให้ข้อมูล และสื่อสารกับนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการนักท่องเที่ยวและคุ้มครองทรัพยากรในอุทยานแห่งชาติ ในช่วงที่ผ่านมามีการนำป้ายไปใช้ประโยชน์ในลักษณะและรูปแบบที่หลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละอุทยานแห่งชาติ บางครั้งลักษณะและการติดตั้งป้ายอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านมุมมองและทัศนียภาพในพื้นที่ นอกจากนี้ยังไม่สอดคล้องสัมพันธ์กับลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับอุทยานแห่งชาติในการกำหนดรูปแบบและติดตั้งป้ายแต่ละประเภทในอุทยานแห่งชาติให้มีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะเป็นคู่มือในแนวทางปฏิบัติ สำหรับอุทยานแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบจัดทำและติดตั้งป้ายทุกประเภทในอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้การบริการด้านข้อมูลและสื่อความหมายที่จำเป็นต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนักท่องเที่ยวและการจัดการทรัพยากร แต่อย่างไรก็ตามในป้ายบางประเภทมาตรฐานที่กำหนดต้องมีความยืดหนุ่นพอสมควร เพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และลักษณะเด่นของพื้นที่ ทั้งนี้คู่มือป้ายฉบับนี้อาจจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลและความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ป้ายและองค์ประกอบของป้าย

     ป้าย (Sign) หมายถึง แผ่นวัสดุที่บรรจุข้อมูล คำเตือน และข้อแนะนำ โดยจัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ให้กับนักท่องเที่ยว และเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสิ่งที่อุทยานแห่งชาติต้องการจะสื่อไปยังนักท่องเที่ยว และที่สำคัญป้ายในอุทยานแห่งชาติเป็นเครื่องมือในการจัดการและควบคุมนักท่องเที่ยว การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยนักท่องเที่ยว และการป้องกันรักษาทรัพยากรในแหล่งท่องเที่ยว ป้ายควรจะตอบสนองความจำเป็นและความต้องของนักท่องเที่ยว

     องค์ประกอบของป้ายประกอบด้วย

1.รายละเอียดในป้าย (Sign Face) เป็นรูปแบบและลักษณะที่เป็นองค์ประกอบในแผ่นป้ายประกอบด้วย ตัวอักษรบอกข้อความ ลูกศรบอกทิศทาง สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของหน่วยงาน โดยจะเป็นส่วนที่ทำให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจรวมถึงภาพลายเส้น (Graphics) ที่ดึงดูดความสนใจและสามารถอธิบายเรื่องราวในรายละเอียดได้มากกว่าข้อความ ทั้งนี้การจัดองค์ประกอบจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของป้ายในแต่ละประเภท

2.ตัวแผ่นป้าย (Sign Panel) เป็นส่วนที่เป็นแผ่นวัสดุที่รองรับรายละเอียดในป้าย โดยวัสดุอาจเป็นไม้โลหะ ไฟเบอร์กลาส คอนกรีต และพลาสติก ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความทนทาน ความสวยงาม โดยสามารถกำหนดสี เนื้อวัสดุ และรูปร่าง เพื่อให้เกิดมาตรฐานและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

3.โครงสร้างของป้าย (Sign Support) เป็นส่วนที่เป็นโครงสร้างของป้ายตั้งแต่ ฐานราก เสา และอาจรวมถึงหลังคาคลุมป้าย จะเป็นตัวเชื่อมป้ายให้เข้ากับภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่รองรับ ควรต้องใช้วัสดุและสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปจะเป็นโลหะ คอนกรีต หรืออาจเป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น หิน และไม้ในพื้นที่ รูปแบบของโครงสร้างของป้ายบางประเภทจะช่วยเพิ่มคุณค่าของป้ายโดยการนำเอกลักษณ์ หรือลักษณะเด่นของพื้นที่มาเป็นแนวในการออกแบบ

ประเภทของป้าย

     การกำหนดให้มีป้ายจะต้องคำนึงถึง ความจำเป็นในการให้ข้อมูลและข้อแนะนำของอุทยานแห่งชาติแก่นักท่องเที่ยว ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ต้องการรับรู้เมื่อเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ประเภทของข้อมูลที่จะนำเสนอซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดการอุทยานแห่งชาติ และรูปแบบของป้ายในการนำเสนอ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงลักษณะและการไหลเวียนของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การขับรถยนต์ หรือการนั่งเรือ โดยป้ายที่มีประสิทธิภาพควรที่จะต้องตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ และสามารถดึงดูดความสนใจและให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนแก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะมีเวลาที่จำกัดในการมองและอ่านเพื่อทำความเข้าใจที่นำเสนอในแผ่นป้าย

     ประเภทของป้ายในอุทยานแห่งชาติอาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ดังนี้

 

1.ป้ายบอกทาง (Directional Sign)
เพื่อบอกทิศทางและแนะนำนักท่องเที่ยวไปสู่พื้นที่เป้าหมายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่กิจกรรมนันทนาการ และจุดสำคัญอื่นแก่นักท่องเที่ยวได้ถูกต้อง ปลอดภัย และรวดเร็ว

 

table09.jpg (54420 bytes)

table01.jpg (43562 bytes)

2.ป้ายข้อบังคับและเตือน (Regulatory and Warning Sign)
ใช้แนะนำให้นักท่องเที่ยวทราบถึงกฎ ระเบียบ และข้อห้าม รวมทั้งข้อควรปฏิบัติที่จำเป็นและควรทราบในการใช้พื้นที่ นอกจากนี้ยังใช้เตือน บอกข้อควรระวัง และข้อแนะนำ นักท่องเที่ยวให้ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับอันตรายและอุบัติเหตุ ซึ่งมีสาเหตุจากสภาพพื้นที่และกิจกรรมนันทนาการของนักท่องเที่ยวต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวและผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดแก่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยในการคุ้มครองรักษาทรัพยากรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
3.ป้ายสถานที่
เพื่อใช้แสดงตำแหน่ง ประเภท และชื่ออุทยานแห่งชาติ แหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก และจุดสำคัญอื่นๆ ภายในอุทยานแห่งชาติให้นักท่องเที่ยวทราบว่ากำลังเข้าสู่และไปถึงสสถานที่นั้น

table15.jpg (48706 bytes)

table12.jpg (43976 bytes)

4.ป้ายสื่อความหมาย (Interpretation Sign)
เพื่อบอก แสดง   หรืออธิบายข้อมูลและเรื่องราว ที่น่ารู้น่าสนใจในอุทยานแห่งชาติทั้งสภาพพื้นที่ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และเข้าใจข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการจัดการนักท่องเที่ยว โดยสามารถใช้อธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและควรตระหนักถึงคุณค่าและให้ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างถูกวิธี
 การออกแบบป้าย

     การใช้ป้ายเป็นวิธีการจัดการ/ควบคุมนักท่องเที่ยวทางอ้อมที่จำเป็นต่อแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานทุกแห่ง การออกแบบป้ายมีข้อพึงปฏิบัติดังนี้

board1.jpg (19448 bytes)

ตัวอย่างป้ายที่ใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษร

board2.jpg (18063 bytes)

ตัวอย่างป้ายคำเตือน/ข้อห้ามต่างๆ

             1. ควรใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่เป็นสากล (ยกเว้นสัญลักษณ์เกี่ยวกับกฏระเบียบเฉพาะเรื่องในพื้นที่ๆ ไม่มีสัญลักษณ์สากล)และใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษรมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยว

             2. ป้ายคำเตือน/ข้อห้ามต่างๆ   ควรใช้ข้อความที่สุภาพ สั้นกระทัดรัดชัดเจนและหากเป็นไปได ควรแฝงไว้ด้วยเหตุผลของข้อห้ามดังกล่าว   

             3. แบบตัวหนังสือ และสีที่ใช้ควรเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งพื้นที่ (และทุกพื้นที่ ถ้าเป็นไปได้) สีที่เหมาะสมสำหรับเป็นสีพื้น คือ สีน้ำตาลเข้มหรือสีโอ๊ก ส่วนสีตัวอักษรควรใช้สีขาวหรือสีเหลือง หรือ สีที่เป็นส่วนผสมระหว่างขาวกับเหลือง

             4. ป้ายทุกลักษณะที่มีชื่อ หรือคำบรรยาย   ควรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ    ในแผ่นป้ายเดียวกัน  

             5. การออกแบบป้ายควรเน้นความเรียบง่าย ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เพื่อความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ และเพื่อให้ง่ายต่อซ่อมแซมและบำรุงรักษา

6. ควรติดตั้งป้ายในตำแหน่งที่มองเห็นเด่นชัด และเป็นบริเวณที่ผู้ใช้ประโยชน์จำนวนมากผ่าน

7. การออกแบบป้ายสื่อความหมาย เช่น นิทรรศการริมทาง (wayside exhibit)

     - ตัวแผ่นป้าย (sign face) ควรมีทั้งตัวหนังสือ (text) และภาพ (graphic) ควบคู่กัน ไม่ควรมีตัวหนังสือมากจนเกินไป ควรมีพื้นที่ว่างบนแผ่นป้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณขอบ (margin) มีจุดดึงดูดความสนใจที่ชัดเจน (strong center) และควรโยงเนื้อหาและภาพในแผ่นป้ายเข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ในบริเวณที่ติดตั้งป้ายอย่างชัดเจน

     - โครงสร้างประกอบแผ่นป้าย (sign support) อันได้แก่ เสา/ฐานป้าย หลังคา และอื่นๆ ควรเน้นความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของพื้นที่และผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น

     - ขนาดของแผ่นป้ายขึ้นอยู่กับเนื้อหาและภาพที่บรรจุ หากมีเนื้อหามาก ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ตามเค้าโครงเรื่องในการสื่อความหมาย (interpretive theme) แยกเป็นแผ่นป้ายย่อยๆ (panel) และติดตั้งเป็นกลุ่ม

     - ป้ายสื่อความหมายในบริเวณจุดชมวิวที่มองเห็นวิวได้ 180 องศา หรือมากกว่า ควรออกแบบให้เป็นป้ายแนวนอน ติดตั้งบนขอบรั้วกันตก หรือบนฐานอิสระที่สูงจากพื้นไม่เกิน 70 ซม. ทำมุมเอียงประมาณ 45 องศา ส่วนป้ายที่จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายบนเส้นทางศึกษาธรรมชาติทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่า อาจเป็นป้ายแนวตั้ง ตามความสูงของต้นไม้ ความสูงของป้ายอยู่ระดับสายตา และอาจมีหลังคาแผ่นป้ายตามความเหมาะสม

ป้ายสื่อความหมาย

     ในบริเวณที่จะสื่อความหมายธรรมชาติหรือบริเวณทางเดินศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ ป้ายที่ติดตั้งในสองบริเวณเป็นป้ายที่ควรจะมีการพิจารณาอย่างระมัดระวัง คือ ป้ายทางเท้า (entrance sign) และป้ายทางเข้าเส้นทาง (trai entrance sign)

1. ป้ายทางเข้า
     ป้ายทางเข้าเป็นการอธิบายถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของพื้นที่ในภาพรวม

2. ป้ายทางเข้าเส้นทางเดิน
     เป็นป้ายที่แสดง
     - แผนที่ของเส้นทางเดินเท้า พร้อมระยะทางของเส้นทาง
     - ตำแหน่งที่ตั้งของจุดเด่น
     - เรื่องราวที่จะมีในระหว่างสัปดาห์
     - รูปภาพของสิ่งที่จะได้พบ

     การออกแบบป้าย  ควรจะพิจารณาถึง

1. จะต้องให้สวยงาม มีศิลปะ และเข้ากับสิ่งแวดล้อม การใช้วัสดุในท้องถิ่นจะทำให้เข้ากับบรรยากาศของสถานที่นั้น

2. ก่อนการออกแบบจะต้องพิจารณาขนาด วิธีการรักษา ราคา ความทนทาน การใช้สอย (ว่าชั่วคราว หรือถาวร) ตลอดจนการซ่อมแซม และเหตุของการทำลาย

3. ขนาดและรูปร่างควรจะพิจารณาจากจุดประสงค์ของการใช้

4. ใช้ตัวอักษรที่เป็นมาตรฐาน ข้อความอ่านง่าย ใช้ภาษาธรรมดา

5. คำนึงถึงความยากง่ายในการก่อสร้าง หากทำยากควรทำเป็นแบบถาวร

6. ควรใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกันทั้งหมด หากจะใช้ 2 ขนาดก็เมื่อต้องการทำให้สวยงาม

7. ขอบของป้ายอย่างน้อยควรจะเท่ากับความสูงของตัวอักษรปกติ ป้ายควรจะมีที่ว่างประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

8. การใช้ตัวอักษร และแบบป้ายจะต้องให้สัมพันธ์กับเรื่องที่อธิบาย เช่น เรื่องโบราณควรใช้แบบอักษรโบราณ

9. การใช้สีจะต้องให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น ในเขตป่า ควรใช้พื้นสีน้ำตาล หรือสีเขียว บริเวณชายหาดควรใช้สีน้ำเงิน หรือสีน้ำทะเล

10. ข้อความในป้ายให้สัมพันธ์กับสิ่งที่มองเห็น

     วัสดุในการทำป้าย

     วัสดุในการจัดทำป้าย พยายามใช้วัสดุที่มีอยู่หรือหาได้ง่ายในท้องถิ่น เพราะจะทำให้ป้ายดูสวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น การใช้ศิลาแลง การใช้ขอนไม้ การเลือกวัสดุควรคำนึงถึงความคงทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ การผุกร่อนจากแมลง สัตว์ต่างๆ ขโมยหรือผู้บุกรุกที่อาจมาทำลายป้ายหรือขโมยไป ปริมาณ การดูแลรักษาที่ต้องการ และประการสุดท้ายความสวยงามกลมกลืมกับธรรมชาติ วัสดุที่ทำป้ายไม่ควรจะเป็นวัสดุที่มีผิวมันสะท้อนแสง จะทำให้อ่านข้อความได้ยาก บางครั้งอาจใช้ความแตกต่างของผิววัสดุของป้ายของตัวอักษรในการทำใหผู้อ่าน อ่านได้ง่ายในลักษณะเดียวกันกับการใช้สีตัดกันของสี

     ตัวอย่างของวัสดุที่ใช้ เช่น กระดาษแข็ง กระดาษทนน้ำ แผ่นเหล็ก/โลหะ Masoniite ไม้อัด ไม้ ไฟเบอร์กลาส พลาสติก แผ่นพลาสติก (laminated plastics) อลูมิเนียม

     ข้อดีข้อเสียของวัสดุทำป้าย

ป้ายโลหะหรือแผ่นอลูมิเนียม
- ทนทานต่อสภาพอากาศ ปลวก และแมลง
- ไม่ทนทานต่อการขูดขีดของนักท่องเที่ยว อาจต้องใช้แผ่นพลาสติกเข้าช่วย
- ตัวหนังสืออาจใช้วิธีพิมพ์ เขียน
- ราคาค่อนข้างแพง ถ้าทำครั้งละจำนวนมากๆ ราคาต่อหน่วยอาจถูกลง
- การพิมพ์ในอลูมิเนียมทำได้จากฟิลฟม์เนกาตีป และสามารถแกะสลักได้ด้วยเครื่องไม้

ป้ายไม้
- ราคาแพง อันเนื่องมาจากการดูแลรักษา
- ราคาค่อนข้างถูก เพราะวัสดุหาได้ง่ายโดยทั่วไป
- ไม่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ปลวก และแมลง ไม่ทนทานต่อการขูดขีดของนักท่องเที่ยว
- จะมีความสวยงาม กลมกลืนกับสภาพบรรยากาศโดยรอบ ได้บรรยากาศที่ด
- ตัวอักษร อาจใช้วิธีเขียน แกะไม้ พิมพ์

ป้ายแผ่นพลาสติก
- ตัวอักษรอาจใช้การพิมพ์ พ่นสี เขียน หรือใช้วิธีเจาะ แผ่นพลาสติกวางทับไปบนแผ่นพลาสติกรองพื้นอีกสีหนึ่ง
- ชนิดของวัสดุเป็นลักษณะแปลกปลอมจากบริเวณโดยรอบที่เป็นธรรมชาติ
- ไม่ทนทานต่อการขูดขีดของนักท่องเที่ยว
- ราคาจะแพงกว่าไม้ แต่ถูกว่าป้ายโลหะ

ป้ายกระดาษ
- ราคาถูกที่สุด
- มีความทนทานน้อยที่สุด อายุการใช้งานไม่มากนัก
- ควรใช้พลาสติกหุ้ม หรือเคลือบพลาสติก เพื่อไม่ให้ป้ายถูกกับอากาศ ความชื้น
- ไม่ทนทานต่อการทำลายของนักท่องเที่ยว

ป้ายที่ทำด้วยกระดาษ จะต้องมีการป้องกันน้ำและต้องใช้ไขเชื่อมที่ละลายได้เร็วและแห้งเร็ว หลังจากได้สิ่งพิมพ์ หรือคำบรรยายแล้ว การใช้ขี้ผึ้งหรือไขจะช่วยป้องกันเชื้อราที่เกาะบนกระดาษ หรือชะงักการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ การใช้แผ่นพลาสติกที่ซ้อนกัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะป้องกันป้ายที่เป็นกระดาษ

ป้ายคอนกรีต
- ป้ายคอนกรีตทนทาน ราคาถูก และค่าดูแลรักษาถูก

ป้ายหินแกรนิต
- หินแกรนิต แข็งแรงดี ไม่ต้องทาสี ทนทานมาก แต่ตัวอักษรที่แกะสลักจะมองเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน วัสดุในลักษณะนี้เหมาะในการทำป้ายสถานที่ที่สำคัญ หรืออนุสาวรีย์

     การเขียนป้าย

ข้อความที่จะเขียนป้ายมีหลายชนิด
- การใช้มือเขียนจะต้องใช้ความชำนาญ และมีราคาสูง ตลอดจนเสียเวลามาก
- การใช้ไม้บรรทัดตัวอักษรช่วยให้รวดเร็วและราคาไม่สูง ซึ่งอุปกรณ์ประกอบด้วย ไม้บรรทัดตัวอักษร ปากกาพร้อมอุปกรณ์ในการเขียน ซึ่งจะใช้ในกรณีไม่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญ
- การใช้เครื่องพิมพ์ดีดจะใช้ได้กับ bulletin board ซึ่งเป็นกระดาษแข็ง หรือวัสดุที่สามารถพิมพ์ดีดได้

     ข้อความในป้าย

ข้อความในป้ายต้อง
- มีความถูกต้องชัดเจน
- น่าสนใจ และเน้อหาจะต้องเรียกร้องความสนใจ
- ง่ายที่จะอ่าน
- ง่ายต่อการเข้าใจ และจำกัดในการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์
- สั้นได้ใจความ

     ถ้าข้อความที่จะสื่อมีเนื้อหาที่ซับซ้อน ควรจะประกอบด้วยหัวเรื่อง บรรทัดตาม และบทสรุป

          หัวเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของข้อความในป้าย หัวเรื่องจะต้องเป็นส่วนที่เรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านและชวนให้ติดตามอ่านข้อความต่อไป หัวเรื่องที่ดีจะต้องสั้น อักษรโตกว่าข้อความที่ตาม

          ย่อหน้านำเรื่อง หากจะต้องมีการอธิบายเกิน 1 ตอน จะต้องมีย่อหน้านำเรื่อง เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างหัวเรื่องกับคำอธิบายต่อไป ในส่วนนี้จะต้องได้ใจความ และน่าสนใจ

          ย่อหน้าตอนใน เป็นการอธิบายให้เข้าใจถึงเรื่องนั้น และจะก่อให้เกิดความประทับใจกับสิ่งนั้น ปกติจะได้ใจความจบในตัวเอง

          บทสรุป เป็นส่วนที่ต้องการให้ผู้อ่านปฏิบัติต่อไปอย่างไรบ้าง เช่น ถ้าเป็นบริเวณที่เปราะบางเกิดการเสียหาย ก็ขอให้ช่วยกันระมัดระวังมิให้เกิดการทำลายเกิดขึ้น

          ภาพประกอบ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพสูง และรูปที่ใช้ควรมีขนาดใหญ่ชัดเจน รูปดังกล่าวได้แก่ รูปถ่าย รูปเขียน ลายเส้น หรือไดอะแกรม การใช้จะต้องให้กลมกลืนดูแล้วอ่านง่าย และสวยงามด้วย

          ส การใช้สีควรจะต้องอ่านง่ายชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้สีตัดกันระหว่างตัวอักษรและสีพื้น ตัวอย่างการใช้สีเพื่อให้เห็นชัดเจน

ตัวหนังสือ

ดำ
เขียว
แดง
แดง
ดำ
น้ำเงิน

สีพื้น

เหลือง
ขาว
ขาว
เหลือง
ขาว
ขาว

     ตำแหน่งที่ตั้ง

1. ป้ายควรจะตั้งอยู่บนเสา ไม่ควรตอกติดกับต้นไม้หรือก้อนหิน ไม่ควรเขียนตัวหนังสือบนต้นไม้ บนผนัง บนก้อนหิน เป็นอันขาด

2. ติดตั้งแล้วเห็นได้ชัด

3. เมื่อติดตั้งป้ายแล้วจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่นักท่องเที่ยว เช่น อันตรายจากหินหล่นทับ กิ่งไม้หัก หน้าผาที่ไม่มีรั้วกั้น หรือทางชัน เป็นต้น

4. ให้พิจารณาติดตั้งในบริเวณที่ถึงแม้ว่ามีคนมาเที่ยวชมมากแต่ไม่เกิดการทำลายธรรมชาติ และสิ่งที่ควรสงวนในพื้นที่นั้น

5. ติดตั้งในความสูงที่พอเหมาะ

กลับไปหน้าเกร็ดความรู้