ปัจจุบันเทคโนโลยีการตรวจหาจุดหรือบริเวณที่มีค่าความร้อนมากผิดจากปกติบนผิวโลก
(Hotspots)
โดยใช้อุปกรณ์การตรวจวัดค่าความร้อน (Thermal
Sensor) ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมสำรวจโลก
(Earth Observation Satellite) เริ่มเข้ามามีบทบาทในการตรวจหาไฟเป็นอย่างมาก
โดยดาวเทียม NOAA12 และ
NOAA18 ใช้
AVHRR
(Advance Very High Resolution Radiometer)
และดาวเทียม Terra และ Aqua
ใช้
MODIS (Moderate
Resolution Imaging Spectroradiometer)
ในการตรวจหา Hotspots และมีการเผยแพร่ข้อมูล
Hotspots
ดังกล่าวในรูปของจุดแดงแสดงตำแหน่งและพิกัดที่ตรวจพบลงบนภาพถ่ายดาวเทียมและเผยแพร่ทางเว็บไซท์
โดยมิได้แสดงข้อมูลหรือมิได้อธิบายรายละเอียดต่างๆ
ในเรื่อง Hotspots อย่างเพียงพอ
ทำให้ประชาชนหรือหน่วยราชการที่ download
ข้อมูลไปใช้
นำข้อมูลไปตีความหมายกันเอาเองตามพื้นฐานความรู้ด้าน
การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
ของแต่ละคนซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกัน
นำมาซึ่งความสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนในประเด็นต่างๆ
ของข้อมูล Hotspots
ดังนี้
1.
หลายคนคิดว่า
Hotspots
ที่ปรากฏอยู่บนภาพถ่ายดาวเทียมทุกจุดคือจุดที่เกิดไฟ
ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป ทั้งนี้เนื่องจาก
Hotspots
เป็นเพียงจุดที่ตรวจพบความร้อนมากผิดปกติของค่าความร้อนบนผิวโลก
ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุที่หลากหลาย ได้แก่
บริเวณที่เกิดไฟไหม้ ภูเขาไฟ บริเวณที่โล่งแจ้ง ลานหิน
ผิวน้ำ กองขยะ ปล่องโรงงาน หลังคาสังกะสี เป็นต้น
ทั้งนี้ข้อมูล Hotspots
ที่แสดงในเว็บไซท์สาธารณะ
โดยยังไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องทางภาคพื้นดิน (Validation)
ว่าจุดนั้นๆ เป็นจุดที่เกิดไฟไหม้จริง
หรือเป็น False Alarm
คือจุดที่ไม่ใช่ไฟไหม้แต่มีค่าความร้อนมากผิดจากปกติ
2.
ไม่ทราบแน่ชัดว่าข้อมูลที่แสดงในเว็บไซท์ในขณะนั้นๆ
เป็นข้อมูลที่ถ่ายและตรวจวัดในวันที่และเวลาใดแน่
และได้ภาพรวมของประเทศไทยครบทั้งหมดหรือไม่ในการแสดงข้อมูลครั้งนั้นๆ
3.
ไม่ทราบแน่ชัดว่าข้อมูลจำนวน
Hotspots
ที่แสดงในเว็บไซท์ในขณะนั้นๆเป็นจำนวน Hotspots
ของการตรวจวัดจากดาวเทียมเพียงรอบเดียวหรือหลายๆรอบ
ซึ่งจะกลายเป็นค่าสะสม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เพิ่งได้เริ่มนำข้อมูล
Hotspots
มาใช้ในงานควบคุมไฟป่าอย่างจริงจังในปี 2549 โดยความร่วมมือของภาควิชาภูมิศาสตร์
มหาวิทยาลัย
Maryland
ซึ่งส่งข้อมูล
Hotspots
รายวันที่ได้จากการตรวจวัดด้วย
MODIS
บนดาวเทียม Terra และ Aqua
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า AVHRR
บนดาวเทียม ของNOAA
โดยที่ดาวเทียม Terra
จะโคจรผ่านประเทศไทยในช่วงเช้า
และดาวเทียม Aqua
จะโคจรผ่านประเทศไทยในช่วงบ่าย และสามารถรับ ข้อมูล
Hotspots
แจ้งเตือนผ่านทางจดหมายอิเลคโทรนิคในรอบ 48
ชั่วโมงที่ผ่านมา
โดยเมื่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รับข้อมูล Hotspots มาแล้ว
ก็จะประมวลผลข้อมูล
โดยใช้ข้อมูลล่าสุดที่ดาวเทียมผ่านประเทศไทย
มาวิเคราะห์ว่า Hotspots
ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวนกี่จุด และ
อยู่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวนกี่จุด
และหากอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใด ตำบล อำเภอ จังหวัด และ
พิกัดใด โดยทราบวันที่ เวลาที่แน่นอนของข้อมูลดังกล่าว
และเป็นข้อมูลของการผ่านของดาวเทียมเพียงรอบเดียว
ไม่ใช่ข้อมูลสะสม จากนั้นกรมอุทยานฯ
จะส่งข้อมูลให้สำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์
และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์สาขาทุกแห่ง
ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนงานประเมินสถานการณ์ในภาพรวม
ใช้ประกอบกับข้อมูลการตรวจหาไฟภาคพื้นดิน
ใช้ตรวจสอบกับข้อมูลการดับไฟในพื้นที่จริง
และแยกแยะจุดที่เป็น False Alarm
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบการตรวจวัด
Hotspots
ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น ในอนาคต
นอกจากนั้นกรมอุทยานฯ ยังได้เผยแพร่ข้อมูล Hotspots
รายวันผ่านทางเว็บไซท์
www.dnp.go.th/forestfire
เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ชัดเจน ไม่สับสน แก่หน่วยราชการอื่นๆ
และประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย
------------------------------------------------------------------ |