ส่วนต่างๆ ของดอกไม้แบบอื่นๆ

ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก โครงสร้างนี้ใหญ่กว่าก้านใบ มีทั้งรูปแบบ เว้ารูปถ้วย หรือโค้งนูน
ก้านดอก (Peduncle) ทำหน้าที่ชูดอกให้ติดกับกิ่ง
กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามา ส่วนมากมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างและสีสรรสวยงาม
กลีบเลี้ยง (Sepal) อยู่ชั้นนอกสุด มักมีขนาดเล็ก มีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มดอก เพื่อป้องกันอันตรายแก่ดอกตูม
รูปร่างของดอกแบบต่างๆ (Perianth Forms)
- รูปกงล้อ (rotate, wheel-shaped) กลีบดอกที่มีกลีบหลอดดอกสั้น และแฉกกลีบดอกแผ่กว้างเรียงกันคล้ายวงล้อ
- รูประฆัง (campanulate, bell-shaped) กลีบดอกที่มีลักษณะคล้ายระฆัง
- รูปคนโท, โถ (urceolate, urn-shaped) กลีบดอกที่หลอดกลีบดอกพองรูปไข่และแฉกกลีบดอกเปิดกว้างออก เล็กน้อย
- รูปดอกเข็ม (salverform, hypocrateriform) กลีบดอกที่มีหลอดกลีบดอกเป็นหลอดยาวและแฉกกลีบดอกแผ่กว้าง
- รูปกรวย (funnelform), รูปแตร (infundibular), รูปลำโพง (infundibuliform) กลีบดอกที่ปลายหลอดกลีบดอกเปิดกว้างคล้ายกรวย แตรหรือลำโพง
- รูปหลอด (tubular) กลีบดอกที่มีหลอดกลีบดอกเป็นหลอดยาวและแคบ
- รูปลิ้น (ligulate, tongue-shaped) กลีบดอกที่มีหลอดกลีบดอกเป็นหลอดสั้นๆและแฉกกลีบดอกแผ่ออกด้านเดียว
- รูปปากเปิด (bilabiate) กลีบดอกที่มีแฉกกลีบดอกแยกออกเป็นสองส่วน
- รูปปากปิด (personate) กลีบดอกที่มีลักษณะคล้ายรูปปากเปิด แต่หลอดกลีบดอกกว้างกว่า
- รูปกระเปาะทรงกระบอก (foxgloveform) กลีบดอกที่มีหลอดกลีบดอกพองคล้ายกระเปาะรูปทรงกระบอกและแฉกกลีบดอกแผ่กว้าง
- รูปดอกถั่ว (papilionaceous) กลีบดอกแต่ละกลีบมีรูปร่างแตกต่างกันได้แก่ กลีบกลาง (standard, banner) เป็นกลีบนอกสุดและใหญ่ที่สุดหุ้มกลีบอื่นไว้ขณะดอกตูม กลีบคู่ล่าง (keel) เป็นกลีบอยู่ด้านล่าง รูปร่างคล้ายท้องเรือมี 2 กลีบ และกลีบคู่ข้าง (wing) เป็นกลีบที่อยู่ด้านข้างของกลีบคู่ล่าง มี 2 กลีบ

เกสรเพศผู้ (Stamen) โดยรวมเรียกว่า วงเกสรเพศผู้ (androecium) ที่อยู่ถัดจากวงกลีบดอก
เกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณู (anther) ภายในมีเรณู (pollen) ที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และก้านเกสรเพศผู้ (filament) ทำหน้าที่ชูอับเรณู
การติดของก้านเกสรเพศผู้ (anther attachment)
- ติดที่ฐาน (basifixed, innate) ส่วนปลายของก้านเกสรเพศผู้ติดที่ฐานของอับเรณู
- ติดที่ด้านหลัง (dorsifixed) ส่วนปลายของก้านเกสรเพศผู้ติดตรงกลางด้านหลังของอับเรณู
- เชื่อมติด (adnate) ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกับอับเรณู โดยเชื่อมจากฐานอับเรณูไปตามความยาวของอับเรณู เช่น เกสรเพศผู้ของบัวสาย
- ติดกลาง (versatile) ส่วนปลายสุดของก้านเกสรเพศผู้ติดตรงบริเวณกลางของอับเรณู และอับเรณูหมุนได้รอบทิศ
การแตกของอับเรณู (anther dehiscence)
- แตกตามยาว (longitudinal dehiscence) อับเรณูจะแตกตามความยาวของอับเรณู
- แตกตามช่อง (poricidal dehiscence) อับเรณูเปิดเป็นช่องเล็กๆหรือรูเล็กๆ ที่ปลายอับเรณู
- แตกตามขวาง (transverse dehiscence) อับเรณูเปิดตามขวางของอับเรณู
- แตกแบบมีลิ้นปิดเปิด (valvular dehiscence) อับเรณูเปิดโดยมีลิ้นหรือเปิด

เกสรเพศเมีย (Pistil) โดยรวมเรียกว่า วงเกสรเพศเมีย (gynoecium) อยู่วงในสุดของดอก ซึ่งอาจมีหนึ่งหรือหลายอัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ประกอบด้วย รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ภายในมีไข่ (ovule) ก้านเกสรเพศเมีย (style) เป็นส่วนที่ถัดจากรังไข่ขึ้นมา และยอดเกสรเพศเมีย (stigma) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของเกสรเพศเมียทำหน้าที่รับละอองเกสรเพศผู้
ชนิดของรังไข่ (Ovary Position)
- รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) รังไข่ที่อยู่เหนือส่วนอื่นๆของดอก
หรือผนังรังไข่ไม่เชื่อมกับส่วนอื่นๆ ของดอก
- รังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary) รังไข่ที่อยู่ใต้ส่วนอื่นๆของดอก และผนังรังไข่ติดรวมอยู่กับส่วนอื่นๆ ของดอก
- รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (half-inferior ovary) รังไข่ที่ส่วนหนึ่งฝังอยู่ในฐานดอก

ออวุล (ovule) โครงสร้างของพืชที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ดเมื่อได้รับการปฏิสนธิ
ออวุลมีก้านออวุล (funiculous) ที่ยึดออวุลไว้กับผนังรังไข่ด้านใน ซึ่งก้านออวุลติดกับผนังรังไข่ ตรงบริเวณพลาเซนตา (placenta) ผนังออวุล (integument) นั้นจะหุ้มไม่มิดเหลือเป็นรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) สำหรับให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าไปผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย

ชนิดของออวุล (Ovule Type) เป็นลักษณะการติดของออวุลเมื่อทำมุมสัมพันธ์กับก้านออวุล
- ออวุลตั้งตรง (orthotropous ovule, และ antitropous ovule) ออวุลที่ตั้งตรง
และไมโครไพล์อยู่ด้านบนตรงข้ามก้านอวุล
- ออวุลคว่ำ (anatropous ovule) ออวุลที่มีไมโครไพล์ชี้ลงด้านล่างใกล้กับก้านออวุล
- ออวุลแนวนอน (amphitropous ovule) ออวุลที่มีไมโครไพล์อยู่ในแนวตั้งฉากกับก้านออวุล
- ออวุลตะแคง (campylotropous ovule) ออวุลที่ไมโครไพล์โค้งต่ำลงมา จนอยู่ด้านข้างใกล้กับฐานออวุล (chalaza)

พลาเซนเตชัน (placentation) การติดของออวุลในรังไข่ แบ่งเป็น
- พลาเซนตาแนวเดียว (marginal placentation) การติดของออวุลทางด้านข้าง ด้านเดียวของผนังรังไข่ และรังไข่มีหนึ่งคาร์เพล
- พลาเซนตารอบแกนร่วน (axile placentation) การติดของออวุลบนแกนกลางของรังไข่ที่มีผนังกั้น รังไข่มีมากกว่า 1 คาร์เพล
- พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ (parietal placentation) การติดของออวุลกับผนังรังไข่ด้านข้าง รังไข่มีมากกว่า 1 คาร์เพล
- พลาเซนตารอบแกน (free-central placentation) การติดของออวุลที่เกิดบนแกนกลางไม่มีผนังกั้น ภายในรังไข่มี 1 ช่อง
- พลาเซนตาทั่วผนัง (laminar placentation) การติดของออวุลรอบผนังรังไข
่ และผนังกั้น
- พลาเซนตาที่ฐาน (basal placentation) การติดของออวุลที่ด้านล่างของผนังรังไข่ พลาเซนตาที่ยอด (apical placentation) การติดของออวุลที่ด้านบนของผนังรังไข่

กลับสู่ด้านบน
การถ่ายละอองเกสร (Pollination)
กลับสู่ด้านบน
ชนิดของดอก (Types of Flower)
ดอกเดี่ยว (Solitary Flower) ดอกที่มีเพียงดอกเดียวอยู่บนก้านดอก
   
ดอกช่อ (Inflorescence Flower) กลุ่มของดอกย่อยที่เกิดบนก้านดอกเดียวกัน
และดอกย่อยแต่ละดอกอาจมีก้านดอกย่อย (pedicel)
   
ลักษณะของช่อดอก (Inflorescence Type)
- แบบช่อกระจุก (cymose type) ช่อดอกที่มีดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ตรงกลาง หรือปลายช่อดอกการบานของดอกเริ่มที่ดอกย่อยบริเวณกลางหรือด้านปลายบนของช่อดอก มีหลายประเภทได้แก่ ช่อกระจุกด้านเดียวชนิดเดี่ยว ช่อวงแถวเดี่ยว (ช่อกระจุกด้านเดี่ยวชนิดประกอบ) ช่อกระจุกซ้อนเดี่ยว ช่อกระจุกซ้อนเชิงประกอบ ช่อกระจุกซ้อนผสม
- ช่อกระจุกด้านเดียวชนิดเดี่ยว (simple monochasium) ช่อดอกที่มีดอก 2 ดอก โดยดอกย่อยที่อยู่ปลายสุดบานก่อนดอกย่อยที่อยู่ด้านข้าง
- ช่อวงแถวเดี่ยว (helicoids cyme) เป็นช่อกระจุกด้านเดี่ยวชนิดประกอบ (compound monochasium) มีดอกย่อยที่ปลายสุดบานก่อน ดอกย่อยออกด้านเดียวทำให้ดอกโค้งเข้าหาช่อดอก เช่น ช่อดอกหญ้างวงช้าง
- ช่อวงแถวคู่ (scorpioid cyme) เป็นช่อกระจุกด้านเดี่ยวชนิดประกอบ (compound monochasium) มีดอกย่อยที่ปลายสุดบานก่อน ดอกย่อยออกเป็นแนวซิกแซกทำให้ช่อดอกโค้งเข้าหาช่อดอก
- ช่อกระจุกซ้อน (dichasium) ช่อดอกที่ดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ที่ปลาย มีดอกย่อยเกิดสองข้างของดอกที่ปลายช่อ
- ช่อกระจุกซ้อนเดี่ยว (simple dichasium) ช่อดอกที่มีดอกย่อย 3 ดอก ดอกย่อยตรงกลางบานก่อนดอกย่อยด้านข้างทั้งสองดอก เช่น ช่อดอกมะลิลา
- ช่อกระจุกซ้อนเชิงประกอบ (compound dichasium) ช่อดอกที่มีหลายช่อกระจุกซ้อนเดี่ยว เช่น ช่อดอกเข็ม มะลิ
- ช่อกระจุกซ้อนผสม (pleiochasium) ช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อน แต่ที่ปลายก้านดอกจะมีช่อดอกแบบช่อกระจุกซ้อนประกอบมากกว่าสองชุดขึ้นไป
- แบบช่อกระจะ (racemose type) ช่อดอกที่มีดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ล่างสุดหรือด้านนอกสุดของช่อดอก ดอกที่อ่อนสุดอยู่ส่วนปลายหรือใจกลางของช่อดอก การบานของดอกเริ่มที่ดอกย่อยบริเวณโคนช่อหรือด้านนอกของช่อดอก มีหลายประเภทได้แก่ ช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อแบบหางกระรอก ช่อเชิงหลั่น ช่อเชิงลดมีกาบ ช่อซี่ร่ม ช่อซี่ร่มเชิง-ประกอบ ช่อกระจุกแน่น ช่อแยกแขนง
- ช่อกระจะ (raceme) ช่อดอกย่อยที่มีก้านดอกย่อยยาวไล่เลี่ยกัน ดอกเกิดสลับสองข้างของแกนกลาง ดอกเกิดและบานก่อนอยู่ด้านล่างของช่อดอก เช่น ช่อดอกกล้วยไม้
- ช่อเชิงลด (spike) ช่อดอกที่คล้ายช่อกระจะ แต่ดอกย่อยไม่มีก้านดอกย่อย เช่นช่อดอกกระถินณรงค์
- ช่อแบบหางกระรอก (ament, catkin) ช่อดอกที่คล้ายช่อเชิงลด แต่ช่อดอกห้อยลงและมักเป็นดอกเพศเดียว เช่นช่อดอกหางกระรอก
- ช่อเชิงหลั่น (corymb) ช่อดอกที่ดอกย่อยมีก้านดอกย่อยยาวไม่เท่ากัน ดอกย่อยที่อยู่ล่างสุดมีก้านดอกย่อยยาวที่สุดแล้วลดหลั่นกันไปที่ปลายยอด ดอกย่อยมักจะเรียงอยู่ในระนาบเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่นช่อดอกหางนกยูงไทย ผักกาดเขียว
- ช่อเชิงลดมีกาบ (spadix) ช่อดอกที่คล้ายช่อเชิงลด ดอกย่อยเกิดเบียดกันอยู่บนแกนกลางและมีกาบ (spathe) หุ้มช่อดอก เช่นช่อดอกหน้าวัว บอนสี
- ช่อซี่ร่ม (umbel) ช่อดอกที่ก้านดอกย่อยเจริญออกมาจากปลายก้านช่อดอกที่จุดเดียวกันและมีขนาดไล่เลี่ยกัน คล้ายซี่ร่ม เช่นช่อดอกหอม กุยช่าย
- ช่อซี่ร่มเชิงประกอบ (compound umbel) ช่อซี่ร่มที่บนก้านย่อยมีการแตกเป็นช่อดอกย่อยแบบช่อซี่ร่มย่อย (umbelet) อีก และแต่ละช่อดอกย่อยมีใบประดับรองรับ เช่น ช่อดอกของผักชีล้อม
- ช่อกระจุกแน่น (capitulum, head) ช่อดอกที่มีดอกย่อยเรียงบนฐานรองดอกที่พองออกหรือแผ่กว้าง และไม่มีก้านดอกย่อย เช่นช่อดอกทานตะวัน บานไม่รู้โรย ผกากรอง
- ช่อแยกแขนง (panicle, compound raceme) ช่อดอกที่มีช่อกระจะหลายช่อมาซ้อนกัน ช่อรูปถ้วย (cyathium) ช่อดอกที่ประกอบด้วยดอกเพศเมียที่ลดรูปเหลือเพียงเกสรเพศเมีย 1 ดอก และดอกเพศผู้ที่ลดรูปเหลือเพียงเกสรเพศผู้จำนวนมาก และมีใบประดับรองรับ เช่น ช่อดอกโป๊ยเซียน น้ำนมราชสีห์
- ฐานดอกรูปถ้วย (hypanthium) ช่อดอกที่เกิดจากฐานรองดอกเจริญขึ้นเป็นรูปถ้วย อาจจะเจริญร่วมกับกลีบเลี้ยง
- ช่อฉัตร (verticillate) ช่อดอกที่มีดอกย่อยเกิดบริเวณรอบข้อของแกนกลาง คล้ายฉัตรเป็นวง เช่น ช่อดอกกะเพราะ โหระพา




กลับสู่ด้านบน
องค์ประกอบอื่นๆ ของดอก
- ใบประดับคล้ายกลีบดอก (petaloid bract) ใบประดับที่มีสีสันคล้ายกลีบดอก เช่น ใบประดับของเฟื่องฟ้า
- วงใบประดับ (involucres, involucral bract, phyllary) ใบประดับที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา หรือหนาม เช่น ใบประดับของบานชื่น ดาวกระจาย ทานตะวัน
- วงกลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก (petaloid calyx) วงกลีบเลี้ยงที่มีสีสันคล้ายกลีบดอก เช่น กลีบเลี้ยงดอกดอนย่า
- กาบหุ้มช่อดอก (spathe) ใบประดับขนาดใหญ่ที่รองรับช่อดอกและมีสีสันต่างๆ เช่นกาบหุ้มช่อดอกของปลีกล้วย หน้าวัว
- ริ้วประดับ (epicalyx) ใบประดับที่ลดรูปเป็นริ้วเล็กๆ เช่นใบประดับของชบา พู่ระหง

 
กลับสู่ด้านบน |